รับซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยน นาฬิกาอินเตอร์แบรนด์ทุกแบรนด์ ทุกรุ่น มือหนึ่งและมือสอง
Rolex • Patek • AP • Omega • IWC • PANERAI • FRANK MULLER • RICHARD MILLE • TAG Heuer • Vacheron Constantin • Ulysse Nardin • Tudor Tissot Piaget • Girard-Perregaux • Corum Chopard • Cartier • Breitling Breguet • Baume et Mercier • ALange & Söhne และอินเตอร์แบรนด์ให้ราคาสูง
time2hand.com
เราเข้าใจคุณ! ด้วยประสบการ์ณในการให้มูลค่านาฬิกาที่เป็นธรรม
การเลือกของที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสมยังจะทำให้การครอบครองนาฬิกาเรือนนี้ของคุณเป็นที่ไม่ผิดหวังทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นหากคุณต้องการปรึกษาและสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับรุ่นนาฬิกาต่างๆ ของเรายินดีให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ
รับซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน นาฬิกาหลายแบรนด์เช่น
Rolex • Patek • AP • Omega • IWC • PANERAI • FRANK MULLER • RICHARD MILLE • TAG Heuer • Vacheron Constantin • Ulysse Nardin • Tudor Tissot Piaget • Girard-Perregaux • Corum Chopard • Cartier • Breitling Breguet • Baume et Mercier • ALange & Söhne และอินเตอร์แบรนด์ให้ราคาสูง
-
ปลอดภัยกว่า
-
ให้ราคาดีกว่า
-
ใส่ใจมากกว่าด้วยการให้คำปรึกษาอย่างเต็มใจ
-
สะดวกและรวดเร็วกว่า
เราเป็นมากกว่าแค่ร้านรับซื้อนาฬิกา เรายินดีให้คำแนะนำเรื่องราคาเบื้องต้นแบบไม่มีค่าใช้จ่าย เราให้ความรู้ และดูแลลูกค้าตลอดการขาย โดยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์สูง ซื่อสัตย์ โดยมีกระบวนการซื้อ-ขายที่มีมาตรฐาน
บริการรับซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน
Rolex • Patek • AP • Omega • IWC • PANERAI • FRANK MULLER • RICHARD MILLE • TAG Heuer • Vacheron Constantin • Ulysse Nardin • Tudor Tissot Piaget • Girard-Perregaux • Corum Chopard • Cartier • Breitling Breguet • Baume et Mercier • ALange & Söhne และอินเตอร์แบรนด์ให้ราคาสูง
จังหวัดกาฬสินธุ์
คำขวัญ: หลวงพ่อองค์ดำลือเลื่อง เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไท ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพานมหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี
กาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางหรือตอนบนของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 510 กิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เริ่มตั้งเป็นเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2336 โดยท้าวโสมพะมิตรได้อพยพหลบภัยมาจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (เมืองศรีสัตตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์) พร้อมไพร่พล และมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำปาว เรียกว่า "บ้านแก่งสำโรง" แล้วได้นำเครื่องบรรณาการเข้าถวายสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้ายกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า "เมืองกาฬสินธุ์" ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล กาฬ แปลว่า "ดำ" สินธุ์ แปลว่า "น้ำ" กาฬสินธุ์ จึงแปลว่า "น้ำดำ" (น้ำดำในที่นี้หมายถึง น้ำที่ใสสะอาดจนมองเห็นดินสีดำ ซึ่งดินดำเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด) ทั้งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ท้าวโสมพะมิตรเป็นพระยาชัยสุนทร (โสมพะมิตร) ครองเมืองกาฬสินธุ์เป็นคนแรก
กาฬสินธุ์มีแหล่งซากไดโนเสาร์และซากดึกดำบรรพ์อื่น ๆ หลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอสหัสขันธ์ อีกทั้งยังมีชื่อเสียงด้านโปงลางและผ้าไหมแพรวา นอกจากนี้ยังมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นลาว, เขมร, จีน, เวียดนาม, ภูไท, กะเลิง, ไทข่า, ไทดำ และญ้อ เป็นต้น
ประวัติ
สมัยก่อนประวัติศาสตร์-ยุคเหล็กตอนปลาย (พุทธศตวรรษที่ 3-7) พบร่องรอยการอยู่อาศัยในหลุมขุดค้นบริเวณโนนเมืองเก่า คือ ภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นครีม ซึ่งเป็นภาชนะที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายในบริเวณแอ่งสกลนครและแอ่งโคราช กำหนดอายุอยู่ในราว 2,200 – 1,800 ปีมาแล้ว และยังพบภาชนะที่ตกแต่งผิวด้วยการทาน้ำโคลนสีแดงด้วย มีการปลงศพด้วยการฝังยาว โดยวางศีรษะให้หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือทั้งหมด แต่มีทั้งแบบนอนหงายและนอนตะแคง ไม่พบการอุทิศสิ่งของให้ศพ
นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของกิจกรรมการถลุงเหล็กด้วยเทคนิคโบราณทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโนนเมืองเก่า และชุมชนในชั้นนี้ยังรู้จักการผลิตเครื่องประดับสำริดประเภทกำไล แหวน ต่างหู ซึ่งจากหลักฐานที่พบ คือ เบ้าดินที่มีคราบโลหะติดอยู่ และอุปกรณ์การหล่อในรูปของแม่พิมพ์ดินเผา ทำให้ทราบว่าเป็นการผลิตสำริดด้วยเทคนิค กระบวนการผลิตขั้นที่ 2 (secondary metallurgical operation) ไม่มีการถลุงเพื่อสกัดโลหะออกจากแร่ดิบ เพียงแต่นำเอาโลหะที่ผ่านการถลุงแล้วมาหลอมแล้วหล่อให้ได้รูปทรงตามต้องการด้วยวิธี lost wax process คือ ใช้ขี้ผึ้งทำแบบขึ้นมาก่อนแล้วเอาดินพอกจากนั้นให้ความร้อนเพื่อให้ขี้ผึ้งละลายและไหลออก จากนั้นจึงเอาโลหะหลอมละลายในเบ้าดินเผาเทลงแทนที่ เมื่อแข็งตัวแล้วจึงทุบแม่พิมพ์ออก กระบวนการผลิตแบบนี้พบในแหล่งโบราณคดียุคโลหะในแอ่งสกลนครและแอ่งโคราชทั่วไป เช่น บ้านเชียง บ้านนาดี เป็นต้น
สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น (พุทธศตวรรษที่ 7-12) ระยะนี้รู้จักการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้จากเหล็ก ผลิตเครื่องประดับสำริดตลอดจนผลิตภาชนะดินเผารูปแบบต่างๆ โดยการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนมีการเผาทั้งแบบกลางแจ้งและเผาในเตาดินที่ควบคุมอุณหภูมิได้ แต่การเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดในช่วงนี้คือประเพณีการปลงศพซึ่งเปลี่ยนจากการฝังยาวมาเป็นการฝังโดยบรรจุกระดุกทั้งโครงหรือโครงกระดูกบางส่วนโดยไม่ผ่านการเผาลงในภาชนะดินเผา การปลงศพแบบนี้ถือว่าเป็นประเพณีที่แพร่หลายอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำโขง ชี มูล ในช่วงหัวเลี้ยวประวัติศาสตร์
สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) เป็นระยะที่มีการอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดเมื่อเทียบกับระยะอื่นๆ มีการประมาณกันไว้ว่าเมืองฟ้าแดดสงยางในยุคนี้มีประชากรราว 3,000 คนเลยทีเดียว โดยพบเครื่องมือเหล็ก เครื่องประดับสำริดประเภทแหวน กำไล ลูกกระพรวน นอกจากนั้นยังพบลูกปัดแก้วสีเขียวอมฟ้า รวมทั้งลูกปัดหินอะเกต และหินคาร์เนเลียน ส่วนภาชนะดินเผาส่วนใหญ่จะเป็นหม้อมีสัน กาน้ำ (หม้อมีพวย) ตะคัน ตลอดจนได้พบแวดินเผา และเบี้ยดินเผาแบบต่างๆ อาจกล่าวได้ว่าโบราณวัตถุที่พบในชั้นนี้เหมือนกับโบราณวัตถุในวัฒนธรรมทวารวดีที่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีในลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16
ในสมัยนี้ชุมชนเริ่มได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาเช่นเดียวกับเมืองโบราณอื่นๆ ในสมัยเดียวกัน ซึ่งแพร่เข้ามาจากอินเดียในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-14 (สมัยคุปตะและปาละ) ดังปรากฏศาสนสถานที่มีลักษณะร่วมกันคือ เจดีย์ วิหารและอุโบสถ ซึ่งส่วนใหญ่จะก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ (มีความยาว 2 เท่าของความกว้าง) และไม่สอปูน แผนผังเจดีย์ที่นิยมในสมัยทวารวดีทั้งภาคกลางและอีสาน คือมีแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีบันไดทางขึ้นด้านเดียวหรือ 4 ด้าน มีการตกแต่งผนังอิฐด้วยการฉาบปูนแล้วประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นและดินเผา นอกจากนี้วัฒนธรรมการสร้างปริมากรรมรูปธรรมจักรลอยตัวยังพบที่เมืองฟ้าแดดสงยางแห่งนี้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ประติมากรรมที่ถือว่าโดดเด่นที่สุดที่พบในชุมชนสมัยทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งไม่ใช่พระพุทธรูปหรือธรรมจักรที่นิยมในภาคกลาง คือ ใบเสมา ทั้งแบบที่มีภาพเล่าเรื่องและแบบที่ไม่มี ใบเสามาเหล่านี้อาจใช้ในการปักเขตแดนศาสนสถาน ซึ่งพบว่ามีจำนวนมากกว่า 14 แห่ง ( จำนวนที่ขุดแต่งครั้งแรกในปี 2510-2511)
ประติมากรรมในทางพระพุทธศาสนาที่น่าสนใจอีกประเภทคือ พระพิมพ์ดินเผา ซึ่งขุดพบที่เมืองโบราณแห่งนี้จำนวน 7 พิมพ์ด้วยกัน พิมพ์ที่พบมากที่สุด (83 องค์) ซึ่งอาจจะเป็นพิมพ์พื้นเมือง และแพร่หลายในเขตลุ่มน้ำชี เพราะพบที่เมืองโบราณคันธาระ อำเภอกันทรวิชัยด้วย คือ ปรางค์สมาธิบนฐานดอกบัว ส่วนพิมพ์ที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์พิเศษของพระพิมพ์ลุ่มน้ำชี คือ ปางธรรมจักร ซึ่งพบเฉพาะที่เมืองโบราณฟ้าแดดสงยางและเมืองโบราณคันธาระเท่านั้น ไม่ปรากฏในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา
นอกจากนี้ยังพบหลักฐานการจารึกบนพระพิมพ์ดินเผาเมืองฟ้าแดดสงยางด้วย ซึ่งอักษรที่ใช้จารึกเป็นอักษรสมัยหลังปัลลวะ (พุทธศตวรรษที่ 14) ภาษามอญโบราณ ด้านบนมีเนื้อหากล่าวถึง พระเจ้าอาทิตย์ ส่วนด้านหลัง เป็นข้อความสั้นๆ กล่าวแต่เพียงสังเขปว่า "พระพิมพ์องค์นี้ ปิณญะอุปัชฌายาจารย์ ผู้มีคุณเลื่องลือไกล" ซึ่งก็อาจแปลความได้ว่า พระพิมพ์องค์นี้ ท่านปิณญะอุปัชฌาจารย์ เกจิผู้มีชื่อเสียงได้สร้างขึ้นไว้สำหรับให้สาธุชนได้รับไปบูชา
สมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 17-18) ตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 เป็นต้นไปดูเหมือนว่าชุมชนโบราณแห่งนี้จะเริ่มเปลี่ยนค่านิยมเกี่ยวกับการปลงศพโดยนิยมการเผาแล้วเก็บอัฐิใส่โกศดินเผาไปฝังไว้ใต้ศาสนสถาน (บริเวณโนนฟ้าแดด) ดังที่พบผอบดินเผาเคลือบสีน้ำตาลอมเขียวที่ภายในบรรจุอัฐิ
สมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 19-23) ช่วงนี้เองที่ชุมชนแห่งนี้มีการติดต่อกับชุมชนในภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งภาคเหนือของไทยด้วย เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ซุ่ย หยวน หมิง ที่เป็นสินค้าสำคัญในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล-ชี และลุ่มน้ำเจ้าพระยาก็ปรากฏในเมืองโบราณแห่งนี้ด้วย สมัยนี้ยังพบว่ามีการอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่น มีการสร้างศาสนสถานแบบอยุธยาซ้อนทับฐานศาสนสถานแบบทวารวดีเกือบทุกแห่ง ที่เห็นร่องรอยเด่นชัดที่สุดในปัจจุบันคือ ฐานล่างของพระธาตุยาคู ซึ่งเป็นศิลปะสมัยทวารวดีที่มีเจดีย์เป็นแบบศิลปะสมัยอยุธยาสร้างซ้อนทับและมีการบูรณปฏิสังขรณ์สืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
ตามบันทึกประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ในปี พ.ศ. 2336 บ้านแก่งสำโรงได้รับการสถาปนาเป็นเมืองกาฬสินธุ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยแยกเอาดินแดนเดิมที่เคยขึ้นต่อเมืองทุ่งศรีภูมิ(อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด)ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดกาฬสินธุ์ หลังจากเจ้าโสมพะมิตรเข้าเฝ้าฯ ถวายสวามิภักดิ์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณแต่งตั้งขึ้นเป็น "พระยาไชยสุนทร" เจ้าเมืองท่านแรกโดยให้รั้งเมืองสืบไป
เมื่อ พ.ศ. 2437 เมื่อพระยาชัยสุนทร (ท้าวเก) เป็นเจ้าเมือง มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแบบให้เจ้าเมืองปกครองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร มาเป็นรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล มีมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เมืองร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดร้อยเอ็ด บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ให้ยุบเป็นอำเภอ คือ เมืองกาฬสินธุ์ เป็นอำเภออุทัยกาฬสินธุ์
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นเป็นมณฑล ยกฐานะอำเภออุทัยกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ ขึ้นต่อมณฑลร้อยเอ็ด และมีอำนาจปกครองอำเภออุทัยกาฬสินธุ์ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอกมลาไสย อำเภอยางตลาด โดยให้พระภิรมย์บุรีรักษ์เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
ต่อมาเกิดข้าวยากหมากแพง เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ การเงินฝืดเคือง จำเป็นต้องยุบจังหวัดต่าง ๆ ลงเพื่อให้สมดุลกับรายได้ของประเทศ จังหวัดกาฬสินธุ์จึงถูกยุบเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอรรถเปศลสรวดี เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคาม (แทนพระยามหาสารคามคณาภิบาลซึ่งออกรับบำนาญ) ครั้นเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จึงได้ยกเลิกมณฑล
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ได้ยกฐานะเป็น "จังหวัดกาฬสินธุ์" จัดตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2490 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2490 จนถึงปัจจุบัน
ภูมิศาสตร์
อาณาเขตติดต่อ
จังหวัดกาฬสินธุ์มีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ จรดจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดสกลนคร
ทิศตะวันออก จรดจังหวัดมุกดาหาร
ทิศใต้ จรดจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันตก จรดจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดขอนแก่น
อุทยาน
จังหวัดกาฬสินธุ์มีพื่นที่ป่าทั้งหมดประมาณ 1,150,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 27 ของพื่นที่ในจังหวัด
อุทยานแห่งชาติภูพาน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของป่าสงวน ฯ ป่าแก้งกะอาม และบางส่วนของป่าดงห้วยผา อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ และอำเภอห้วยผึ้ง มีพื้นที่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ 57,500 ไร่ ประกาศเป็นอุทยาน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2518 และปี พ.ศ. 2525 (สกลนคร-กาฬสินธุ์)
อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ อ.คำม่วง อ.สมเด็จ บางส่วน (สกลนคร-อุดรธานี-กาฬสินธุ์)
วนอุทยานภูพระ อยู่ในตำบลนาตาล อำเภอท่าคันโท มีพื้นที่ประมาณ 6,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงมูล
วนอุทยานภูแฝก อยู่ที่บ้านน้ำคำ ตำบลภูแล่นช้าง อำเภอนาคู มีพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงห้วยผา
วนอุทยานภูผาวัว อยู่ในตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงด่านแย้
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอเขาวง มีพื้นที่ประมาณ 28,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวน ฯ ป่าดงด่านแย้ และป่าตอห่ม
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำปาว อยู่ในเขตอำเภอสหัสขันธ์ อำเภอหนองกุงศรี อำเภอท่าคันโท และอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ 200,000 ไร่เศษ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่น้ำของเขื่อนลำปาว
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ป่าดงบังอี แปลงที่ 2
ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงระแนง อยู่ในเขตอำเภอยาวตลาด และอำเภอห้วยเม็ก มีพื้นที่ประมาณ 69,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. 2499
ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงแม่แฝด อยู่ในเขตอำเภอนามน อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์และอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ 119,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. 2504
ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงบังอี่แปลงที่ 1 อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ 12,000 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. 2501
ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู อยู่ในเขตอำเภอเขาวง และอำเภอนาคู มีพื้นที่ประมาณ 88,000 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2508
ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงห้วยผา อยู่ในเขตอำเภอห้วยผึ้ง และอำเภอนาคู มีพื้นที่ประมาณ 110,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวนเมื่อปี พ.ศ. 2508
ป่าสงวนแห่งชาติ ป่านาจาร - ดงขวาง อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ อำเภอสหัสขันธ์ และอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ 37,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน เมื่อปี พ.ศ. 2506
ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าโคกกลางหมื่น อยู่ในเขตอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ 15,000 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2509
ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงนามน อยู่ในเขตอำเภอกมลาไสย อำเภอร่องคำ และอำเภอเมือง ฯ มีพื้นที่ประมาณ 12,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2509
ป่าสงวนแห่งชาติ ป่ากังกะอวม อยู่ในเขตอำเภอสมเด็จ มีพื้นที่ประมาณ 88,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2509
ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงด่านแย้ อยู่ในเขตอำเภอคำม่วง กิ่งอำเภอสามชัย และอำเภอเขาวง มีพื้นที่ประมาณ 76,500 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2510
ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูพาน อยู่ในเขตอำเภอคำม่วง กิ่งอำเภอสามชัย และอำเภอสมเด็จ มีพื้นที่ประมาณ 215,000 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2511
ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงมูล อยู่ในเขตอำเภอห้วยเม็ก อำเภอหนองกุงศรี และอำเภอท่าคันโท มีพื้นที่ประมาณ 259,000 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2518
ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงบังอี่ แปลงที่ 2 อยู่ในเขตอำเภอกุฉินารายณ์ มีพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่ ประกาศเป็นป่าสงวน ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2517
สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า มีอยู่แห่งเดียวคือ สถานี ฯ ลำปาว มีพื้นที่ประมาณ 1,500 ไร่ อยู่ในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
ป่าชุมชน คือ กิจการของป่าที่ประชาชนมีส่วนร่วม เป็นแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ อีกรูปแบบหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2541 มีป่าชุมชนอยู่ 15 หมู่บ้าน เช่น ป่าชุมชนบ้านหนองผ้าอ้อม และป่าชุมชนบ้านสูงเนิน เป็นต้น