รับซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยน นาฬิกาอินเตอร์แบรนด์ทุกรุ่นมหาสารคาม

Posted on Posted in ซื้อ-ขายนาฬิกา-ภาคกลาง, ซื้อ-ขายนาฬิกา-ภาคตะวันตก, ซื้อ-ขายนาฬิกา-ภาคตะวันออก, ซื้อ-ขายนาฬิกา-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ซื้อ-ขายนาฬิกา-ภาคเหนือ, ซื้อ-ขายนาฬิกา-ภาคใต้, ซื้อ-ขายนาฬิกา-ห้างสรรพสินค้ากรุงเทพ, ซื้อ-ขายนาฬิกา77จังหวัด, รวม50เขตในกรุงเทพ, รับซื้อนาฬิกามือสอง

รับซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยน นาฬิกาอินเตอร์แบรนด์ทุกแบรนด์ ทุกรุ่น มือหนึ่งและมือสอง

Rolex • Patek • AP • Omega • IWC • PANERAI • FRANK MULLER • RICHARD MILLE • TAG Heuer • Vacheron Constantin • Ulysse Nardin • Tudor Tissot Piaget • Girard-Perregaux • Corum Chopard • Cartier • Breitling Breguet • Baume et Mercier • ALange & Söhne และอินเตอร์แบรนด์ให้ราคาสูง

time2hand.com


เราเข้าใจคุณ! ด้วยประสบการ์ณในการให้มูลค่านาฬิกาที่เป็นธรรม

การเลือกของที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสมยังจะทำให้การครอบครองนาฬิกาเรือนนี้ของคุณเป็นที่ไม่ผิดหวังทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นหากคุณต้องการปรึกษาและสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับรุ่นนาฬิกาต่างๆ ของเรายินดีให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ

รับซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน นาฬิกาหลายแบรนด์เช่น
Rolex • Patek • AP • Omega • IWC • PANERAI • FRANK MULLER • RICHARD MILLE • TAG Heuer • Vacheron Constantin • Ulysse Nardin • Tudor Tissot Piaget • Girard-Perregaux • Corum Chopard • Cartier • Breitling Breguet • Baume et Mercier • ALange & Söhne และอินเตอร์แบรนด์ให้ราคาสูง

ต้องการซื้อ-ขายนาฬิกาติดต่อเราทันทีได้ที่

TEL : 06-1515-1616

LINE : @time2hand


เพิ่มเพื่อน

  • ปลอดภัยกว่า
  • ให้ราคาดีกว่า
  • ใส่ใจมากกว่าด้วยการให้คำปรึกษาอย่างเต็มใจ
  • สะดวกและรวดเร็วกว่า

เราเป็นมากกว่าแค่ร้านรับซื้อนาฬิกา เรายินดีให้คำแนะนำเรื่องราคาเบื้องต้นแบบไม่มีค่าใช้จ่าย เราให้ความรู้ และดูแลลูกค้าตลอดการขาย โดยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์สูง ซื่อสัตย์ โดยมีกระบวนการซื้อ-ขายที่มีมาตรฐาน

บริการรับซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน

Rolex • Patek • AP • Omega • IWC • PANERAI • FRANK MULLER • RICHARD MILLE • TAG Heuer • Vacheron Constantin • Ulysse Nardin • Tudor Tissot Piaget • Girard-Perregaux • Corum Chopard • Cartier • Breitling Breguet • Baume et Mercier • ALange & Söhne และอินเตอร์แบรนด์ให้ราคาสูง

ต้องการซื้อ-ขายนาฬิกาติดต่อเราทันทีได้ที่

TEL : 06-1515-1616

LINE : @time2hand

จังหวัดนครราชสีมา

คำขวัญ: เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน

นครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยและมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อเมืองนครราชสีมาปรากฏที่เป็นบทความเป็นครั้งแรกเป็นเมืองพระยามหานครในการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีรับสั่งให้ย้ายเมืองนครราชสีมามาตั้งบริเวณพื้นที่ปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. 2217

ที่มาของชื่อ

มีผู้เสนอว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่ เมืองนครราช คือเมืองเดียวกันกับเมืองราด ของพ่อขุนผาเมือง เนื่องจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองพระนครหลายประการ นอกจากนี้รูปสลักกองทัพชาวสยามบนระเบียงด้านหนึ่งของ นครวัด อาจเป็นชาวสยามจากลุ่มแม่น้ำมูลที่เกี่ยวข้องกับเมืองนครราช และยังมีการกล่าวถึงเมืองนครราชสีมาในพงศาวดารของกัมพูชาหลายครั้งด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีมุมมองอีกด้านหนึ่งก็ว่า นครราชสีมา นั้นเป็นคำไทยเป็นคำใหม่ แยกเป็นคำได้คือ นคร, ราช และ สีมา หมายความว่า “เมืองใหญ่อันเป็นขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักร” (ราช+สีมา) ส่วนคำว่า โคราช (สำเนียงถิ่น: โค-หฺราด, ไทยกลาง: โค-ราด, เขมร: โก-เรียช) นั้น น่าจะเพี้ยนมาจาก นครราช (อ่านตามสำเนียงว่า คอน-หฺราด ซึ่งเป็นคำเรียกนครราชสีมาแบบย่อ ๆ ของชาวบ้าน) หรือ อังกอร์เรียจ ต่อมาลดรูปเป็น กอร์เรียจ และเพี้ยนเป็นโคราช ในที่สุด​และไม่ได้เพี้ยนมาจากชื่อเมืองโคราฆปุระ (Gorakhpur) ที่เป็นชื่อเมืองสมัยใหม่ในแคว้นเดียวกับเมืองอโยธยา (Ayodhya) ในอินเดีย ตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ​แต่อย่างใดเนื่องจากเมืองโคราชที่สูงเนินมีความเก่าแก่กว่าเมืองโคราฆปุระ

เดิมทีนั้นชื่อเมืองนครราชสีมา มีการใช้ “นครราชสีมา” และ “นครราชสีห์มา” สลับกันไป จนกระทั่งเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2445 (พ.ศ. 2444 เดิม) ได้มีพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศว่า

ชื่อมณฑลแลเมืองนครราชสีห์มา ซึ่งใช้ตัว ห การันต์ด้วยนั้น เปนการผิดจากความหมายของชื่อเมือง แต่นี้ต่อไปอย่าให้ใช้ตัว ห การันต์ ให้ใช้ว่า นครราชสีมา ในการที่จะออกชื่อเกี่ยวด้วยมณฑลแลเมืองนี้ในที่ทั้งปวง

— ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๐ เล่ม ๑๘ หน้า ๗๙๑

ประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

ภาพเขียนสีเขาจันทร์งามที่วัดเขาจันทร์งามอำเภอสีคิ้วเป็นภาพเขียนสีของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคหินใหม่ต่อเนื่องมาถึงยุคสำริดและยุคเหล็กอยู่ที่อำเภอโนนสูงประกอบด้วยแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาทและแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการอาศัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ประมาณ 3000 ปีก่อนตั้งแต่ยุคหินจนถึงยุคประวัติศาสตร์ ในยุคสำริดมีการค้นพบเครื่องประดับสำริดต่างๆและเครื่องปั้นดินเผา แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัดเป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีพบการฝังศพผู้ใหญ่ไว้ในภาชนะดินเผา ที่อำเภอพิมายพบภาชนะดินเผาแบบพิมายดำ (Phimai Black Ware) เมื่อเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเขมรอินเดียและพระพุทธศาสนาเข้ามาในพื้นที่ ทำให้ชุมชนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ถูกแทนที่ด้วยชุมชนในยุคประวัติศาสตร์ซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากภายนอก

สมัยโบราณ

อาณาจักรศรีจนาศะ

ในยุคทวารวดีปรากฏมีอาณาจักรศรีจนาศะ หรือ “จนาศะปุระ” ขึ้นซึ่งสันนิษฐานว่ามีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโบราณเสมา ในตำบลเสมาอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน พบหลักฐานเกี่ยวกับอาณาจักรศรีจนาศะจากจารึกสองชิ้นได้แก่ จารึกบ่ออีกาพบที่บ้านอีกาอำเภอสูงเนิน กำหนดอายุที่พ.ศ. 1411 ใช้อักษรหลังปัลลวะและจารึกด้วยภาษาสันสกฤตและภาษาเขมร กล่าวถึงพระราชาแห่งศรีจนาศะประทานสัตว์และทาสแก่พระสงฆ์และสรรเสริญอังศเทพผู้สร้างศิวลึงค์ และจารึกศรีจนาศะซึ่งพบที่อยุธยาเป็นอักษรขอมโบราณในภาษาสันกฤตและเขมรกล่าวถึงรายพระนามกษัตริย์แห่งศรีจนาศะจารึกขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 1480 เมืองเสมาเป็นเมืองมีคูน้ำคันดินล้อมรอบเป็นรูปวงกลมรีพบโบราณสถานจำนวนเก้าแห่ง นอกจากนี้ยังมีพระนอนหินทรายที่วัดธรรมจักรเสมารามซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคศรีจนาศะ หลักฐานที่พบแสดงว่าถึงพระพุทธศาสนาในศรีจนาศะซึ่งได้รับอิทธิพลจากทวารวดีอยู่คู่กับศาสนาพราหมณ์ไศวนิกาย เมืองศรีจนาศะมีความสัมพันธ์กับเมืองศรีเทพจังหวัดเพชรบูรณ์และเมืองละโว้ซึ่งอยู่ภายใต้มัณฑละเดียวกัน

เมื่อจักรวรรดิเขมรแผ่ขยายอำนาจมาในพื้นที่เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ทำให้อาณาจักรศรีจนาศะสิ้นสุดลง จารึกเมืองเสมาพ.ศ. 1514 กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 เมือง “โคราฆะปุระ” ถือกำเนิดขึ้นที่ตำบลโคราชริมแม่น้ำลำตะคองมีปราสาทเมืองแขกและปราสาทโนนกู่ซึ่งเป็นศิลปะแบบเกาะแกร์

ปราสาทพิมายและอาณาจักรขอมโบราณ

ปราสาทหินพิมาย สร้างขึ้นราวราวพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นโบราณสถานทรงขอมแบบบาปวนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

สันนิษฐานว่าปราสาทหินพิมายถูกสร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1เนื่องจากรูปแบบศิลปะของซุ้มและมุขหน้าปราสาทประธานเป็นศิลปะแบบบาปวนซึ่งเป็นศิลปะในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 นอกจากปราสาทหินพิมายยังมีปราสาทหินพนมวันที่ตำบลบ้านโพธิ์ซึ่งสร้างขึ้นในยุคเดียวกัน พบจารึกที่ปราสาทพิมายทั้งหมดหกหลัก กล่าวถึงการบูชาและถวายของแด่พระพุทธเจ้า การกล่าวสรรเสริญพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 และการสร้างรูปเคารพรวมทั้งพิธีกรรมต่างๆ จารึกปราสาทหินพิมาย 2 พ.ศ. 1579 กล่าวถึงพระนาม“ศรีสูรยวรมะ” ปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาวัชรยานทับหลังของปราสาทประธานสลักเป็นรูปของพระชินพุทธะและพบสัญลักษณ์และรูปเคารพของวัชรยานอื่นๆ เมืองพิมายหรือ “วิมายปุระ” เป็นฐานที่มั่นของราชวงศ์มหิธรปุระซึ่งเริ่มต้นขึ้นที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 และต่อมาได้ครองจักรวรรดิเขมร จารึกปราสาทหินพิมาย 3 พ.ศ. 1651 ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 กล่าวว่า “…กมรเตงอัญศรีวิเรนทราธิบดีวรมะเมืองโฉกวะกุลสถาปนากมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย ซึ่งเป็นเสนาบดีแห่งกมรเตงชคตวิมายะ” ในยุคนี้มีการสร้างปราสาทพิมายเพิ่มเติมในศิลปะยุคนครวัดซึ่งเป็นศิลปะในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ปราสาทหินพิมายจึงเป็นการรวมกันของศิลปะยุคบาปวนและศิลปะยุคนครวัด

เมื่อราชวงศ์มหิธรปุระได้ขึ้นครองจักรวรรดิเขมรเมืองวิมายประทวีความสำคัญขึ้นในฐานะศูนย์กลางการปกครองของขอมโบราณในลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 บูรณะปราสาทพิมายเนื่องจากเป็นเมืองเกิดของพระมารดา จากที่ปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์พ.ศ. 1734 ที่นครธมซึ่งกล่าวถึงเส้นทางการคมนาคมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กล่าวว่า“จากเมืองหลวงไปยังเมืองวิมาย (มี) ที่พักพร้อมด้วยไฟ 17 แห่ง” แสดงให้เห็นว่าเมืองวิมายเป็นเมืองจุดหมายปลายทางที่สำคัญ พบรูปประติมากรรมเหมือนของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ปราสาทพิมาย ต่อมาเมื่อจักรวรรดิเขมรเสื่อมอำนาจลงและอาณาจักรอยุธยาแผ่ขยายอำนาจเข้ามาเมืองพิมายจึงลดความสำคัญลง

สมัยอยุธยา

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีก เลขทะเบียน ๒๒๒ ๒/ก ๑๐๔ กล่าวถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) “อยู่ปีหนึ่ง ท่านให้ก็ตกแต่งช้างม้ารี้พล ทั้งปวงจะยกไปเมืองพิมายพนมรุ้งไซร้ พอเจ้าเมืองทั้งหลายถวายบังคมพระบาทผู้เป็นเจ้าๆก็ให้พระราชทานรางวัลแล้วคืนไปอยู่ตามภูมิลำเนา” ซึ่งตรงกับศิลาจารึกขุนศรีไชยราชมงคลเทพซึ่งจารึกขึ้นเมื่อพ.ศ. 1974 และพบที่อำเภอลำสนธิจังหวัดลพบุรี กล่าวถึงสมเด็จพระอินทราบรมจักรพรรดิธรรมิกราชโปรดฯให้ขุนศรีไชยราชมงคลเทพ “เอาจตุรงค์ช้างม้ารี้พลไปโจมจับพระนครพิมายพนมรุ้ง” แสดงให้เห็นว่าอาณาจักรอยุธยาแผ่ขยายอำนาจเข้ามาในเขตลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนและที่ราบสูงโคราชด้านตะวันตกในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าสามพระยาฯ

ในสมัยอยุธยาเมืองนครราชสีมาคือ “เมืองโคราฆะ” ริมแม่น้ำลำตะคองในตำบลโคราชอำเภอสูงเนินในปัจจุบันซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับเมืองเสมา เมืองนครราชสีมามีความสำคัญในฐานะเป็นฐานการปกครองของอยุธยาในลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนและเป็นรอยต่ออาณาเขตของอยุธยากับอาณาจักรล้านช้างและเขมรป่าดง ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจากกฎมณเฑียรบาลเมืองนครราชสีมาเป็นหนึ่งในเมืองพระยามหานครแปดเมืองซึ่งเจ้าเมืองต้องถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง ปรากฏราชทินนามของเจ้าเมืองนครราชสีมาว่า ออกญากำแหงสงครามรามภักดีอภัยพิรียบรากรมภาหุ ศักดินา 10,000 ไร่ พงศาวดารเขมรระบุว่าในพ.ศ. 2113 เมื่อสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 แห่งอาณาจักรเขมรละแวกเข้าตีกรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จจึงยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาได้สำเร็จ สมเด็จพระนเรศวรฯทรงจัดการปกครองหัวเมืองขึ้นใหม่โดยเมืองนครราชสีมามีฐานะเป็นเมืองชั้นโท นอกจากนี้พงศาวดารเขมรยังระบุอีกว่าในพ.ศ. 2173 รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระศรีธรรมราชาที่ 2 แห่งอาณาจักรเขมรอุดงยกทัพมากวาดต้อนผู้คนในเขตเมืองนครราชสีมา

เมืองโคราชสีมาในแผนที่ของ ลา ลูแบร์ พ.ศ. 2236

ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเห็นว่านครราชสีมามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยาติดกับพรมแดนลาวล้านช้าง จึงโปรดฯให้ย้ายเมืองนครราชสีมาจากเมืองโคราฆะเดิมและเมืองเสมามาสร้างเมืองใหม่ที่อำเภอเมืองนครราชสีมาในปัจจุบัน วางผังเมืองโดยเดอลามาร์ (De la Mare) วิศวกรชาวฝรั่งเศสเป็นตารางรูปสีเหลี่ยมกว้าง 1,000 เมตร ความยาว 1,700 เมตร มีกำแพงเมืองขนาดใหญ่ตามแบบตะวันตกมีป้อมค่ายหอรบ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงรวมชื่อเมืองโคราฆะและเมืองเสมาแล้วพระราชทานนามเมืองใหม่ว่า “เมืองนครราชสีมา” เมื่อจุลศักราช 1036 (พุทธศักราช 2217) และทรงแต่งตั้งให้พระยายมราช (สังข์)เป็นเจ้าเมือง ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ บันทึกไว้ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ว่า เมืองโคราชสีมา (Corazema) เป็นหัวเมืองใหญ่หนึ่งในเจ็ดมณฑล ตั้งอยู่ติดชายแดนของราชอาณาจักรสยามกับเมืองลาว มีเมืองบริวาร 5 เมืองได้แก่ เมืองนครจันทึก (อำเภอสีคิ้ว) เมืองชัยภูมิ เมืองพิมาย เมืองบุรีรัมย์ และเมืองนางรอง

เมื่อสมเด็จพระเพทราชาทรงยึดอำนาจในพ.ศ. 2231 พระยายมราช (สังข์) เจ้าเมืองนครราชสีมาที่แต่งตั้งโดยสมเด็จพระนารายณ์ฯแข็งเมืองไม่ไปถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระเพทราชาทรงส่งทัพเข้าล้อมเมืองนครราชสีมาในพ.ศ. 2232 แต่ไม่สำเร็จและถอยกลับไป พระเพทราชาจึงทรงส่งทัพมาอีกครั้งในปีถัดมาสามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้ในที่สุด พระยายมราช (สังข์) หลบหนีไปยังเมืองนครศรีธรรมราช จากนั้นปีพ.ศ. 2241 ชาวบ้านในเมืองนครราชสีมาชื่อบุญกว้างพร้อมพรรคพวกอีกยี่สิบแปดคนสามารถยึดอำนาจในเมืองนครราชสีมาจากเจ้าเมืองคนใหม่ได้ นำไปสู่กบฏบุญกว้าง พระเพทราชาทรงส่งทัพเข้าล้อมเมืองนครราชสีมาอีกครั้งกินเวลายืดเยื้ออยู่นานถึงสามปี ฝ่ายอยุธยาใช้อุบายผูกหม้อดินระเบิดกับว่าวจุฬาแล้วชักให้ลอยไปตกในเมืองนครราชสีมาเพื่อให้เกิดเพลิงไหม้ จนกระทั่งเจ้าเมืองนครราชสีมาออกอุบายให้บุญกว้างและพรรคพวกยกทัพไปตั้งที่ลพบุรีทัพหลวงจึงเข้าตีทัพบุญกว้างพ่ายแพ้ไป ในขณะที่พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศกล่าวว่าหลังจากถูกล้อมบุญกว้างและพรรคพวกหลบหนีออกจากเมืองนครราชสีมาไปได้

เมื่อทัพพม่าเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาในพ.ศ. 2309 กรมหมื่นเทพพิพิธพระโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จจากหัวเมืองชายทะเลตะวันออกมาเกลี้ยกล่อมให้พระยานครราชสีมาเจ้าเมืองนครราชสีมาให้การสนับสนุนแด่พระองค์ในการกอบกู้อยุธยาจากการล้อมของพม่า แต่พระยานครราชสีมาไม่ยินยอมด้วย กรมหมื่นเทพพิพิธจึงทรงส่งหม่อมเจ้าประยงพระโอรสและหลวงมหาพิชัยลักลอบนำกองกำลังเข้าเมืองนครราชสีมาและทำการลอบสังหารพระยานครราชสีมากรมหมื่นเทพพิพิธจึงทรงสามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้แต่เพียงไม่นานน้องชายของพระยานครราชสีมาที่ถูกสังหารไปนั้นคือหลวงแพ่งหลบหนีไปยังเมืองพิมายขอความช่วยเหลือจากพระพิมายผู้เป็นเจ้าเมืองพิมายในการยึดเมืองนครราชสีมาคืนจากกรมหมื่นเทพพิพิธ พระพิมายและหลวงแพ่งยกทัพจากเมืองพิมายเข้ามายึดเมืองนครราชสีมาได้สำเร็จและจับกุมกรมหมื่นเทพพิพิธ พระพิมายไว้พระชนม์ชีพกรมหมื่นเทพพิพิธและเชิญกรมหมื่นเทพพิพิธไปประทับที่เมืองพิมาย หลวงแพ่งได้เป็นพระยานครราชสีมา

สมัยกรุงธนบุรี

หลังกรุงศรีอยุธยาล่มสลายในพ.ศ. 2310 เจ้าเมืองพิมายจึงยกให้กรมหมื่นเทพพิพิธขึ้นเป็น”เจ้าพิมาย” เกิดชุมนุมเจ้าพิมายขึ้น เจ้าพิมายกรมหมื่นเทพพิพิธทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองพิมายเดิมเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (พระพิมาย) ยกทัพเข้าลอบสังหารพระยานครราชสีมา (หลวงแพ่ง) ชุมนุมเจ้าพิมายมีเขตอำนาจตั้งแต่สระบุรีขึ้นไปจรดเขตแดนของอาณาจักรล้านช้าง เป็นหนึ่งในชุมนุมต่างๆที่เกิดขึ้นหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาโดยมีกรมหมื่นเทพพิพิธหรือเจ้าพิมายป็นผู้นำ ในพ.ศ. 2311 หลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตีค่ายโพธิ์สามต้นแตกแล้ว มองย่าปลัดทัพฝ่ายพม่าหลบหนีมาเข้าพวกกับชุมนุมพิมาย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงยกทัพติดตามขึ้นมาตีชุมนุมเจ้าพิมาย เจ้าพิมายให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (พระพิมาย) ตั้งรับอยู่ที่ด่านจอหอ (ตำบลจอหอ อำเภอเมือง) และให้พระยาวรวงษาธิราชบุตรชายของเจ้าพระศรีสุริยวงษ์ตั้งทัพอยู่ที่ด่านขุนทด ทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพเข้ายึดค่ายของเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (เจ้าพิมาย) ที่จอหอได้สำเร็จ เจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ (พระพิมาย) ถูกจับกุมและประหารชีวิต พระราชวรินทร์ (ทองด้วง) ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระมหามนตรี (บุญมา) ต่อมาคือกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เข้ายึดค่ายของพระยาวรวงษาธิราชที่ด่านขุนทดได้สำเร็จ เมื่อทัพทั้งสองพ่ายแพ้แก่ธนบุรีเจ้าพิมายจึงหลบหนีจากเมืองพิมายไปยังลาวล้านช้างแต่ขุนชนะจับเจ้าพิมายมาถวายแด่พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีฯทรงสำเร็จโทษเจ้าพิมายและแต่งตั้งให้ขุนชนะเป็นพระยากำแหงสงครามครองเมืองนครราชสีมา ชุมนุมเจ้าพิมายจึงสิ้นสุดลงและนครราชสีมาจึงเข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของธนบุรี

ในสมัยธนบุรีปรากฏมีนามเจ้าเมืองนครราชสีมาได้แก่ พระยากำแหงสงคราม (ขุนชนะ) และ”เจ้าพระยานครราชสีมา” (ปิ่น) เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงยกทัพไปอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ปีพ.ศ. 2321 นั้น เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ได้เป็นทัพหน้า ในพ.ศ. 2323 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้พระยากำแหงสงคราม (ขุนชนะ) ย้ายไปรับราชการที่ธนบุรีและแต่งตั้งให้หลวงนายฤทธิ์ (ทองอิน) เป็นพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา (ต่อมาคือเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์) และพระอภัยสุริยา (บุญเมือง) เป็นปลัดเมืองนครราชสีมา (ต่อมาคือเจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์) ในช่วงปลายรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีฯเมื่อเกิดการกบฏพระยาสรรค์ขึ้น พระยาสุริยอภัยเจ้าเมืองนครราชสีมาได้นำกำลังทหารของนครราชสีมาเข้าควบคุมสถานการณ์ที่กรุงธนบุรีไว้ก่อนที่เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์จะยกทัพกลับมาจากกัมพูชาและเกิดการเปลี่ยนแผ่นดิน

สมัยรัตนโกสินทร์

ท้าวสุรนารี

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงแต่งตั้งให้พระยานครราชสีมา (เที่ยง) บุตรของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา เมื่อสยามมีอำนาจเหนือหัวเมืองประเทศราชลาวล้านช้างทำให้เมืองนครราชสีมามีความสำคัญในฐานะเป็นช่องทางและสื่อกลางระหว่างส่วนกลางที่กรุงเทพฯและประเทศราชลาว เมืองนครราชสีมาจึงถูกยกฐานะขึ้นมาเป็นเมืองชั้นเอก เจ้าเมืองนครราชสีมามีอำนาจในการสอดส่องดูแลประเทศราช ๓ เมือง คือ เวียงจันทน์ นครพนม จำปาศักดิ์ รวมทั้งหัวเมืองเขมรป่าดง ในสมัยรัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2362 เกิดกบฏอ้ายสาเกียดโง้งที่อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ มีรับสั่งให้พระยานครราชสีมา (เที่ยง) นำกองทัพไปปราบ ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองนครราชสีมาต่อจากพระยานครราชสีมา (เที่ยง) คือเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น)

ในสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2369 ขณะที่เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) กับพระปลัดเมืองนครราชสีมากำลังอยู่ในราชการที่เมืองขุขันธ์อยู่นั้น เจ้าอนุวงศ์ยกทัพลาวมายึดครองเมืองนครราชสีมาได้และสั่งให้กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมาไปยังเวียงจันทน์ พระยาพรหมยกกระบัตรเมืองนครราชสีมาจำต้องยอมจำนนต่อเจ้าอนุวงศ์ ฝ่ายพระปลัดเมืองนครราชสีมาเมื่อทราบว่าฝ่ายลาวเข้ายึดเมืองนครราชสีมาแล้วจึงรีบเดินทางกลับมายังนครราชสีมาแสร้งทำทีว่าเข้าสวามิภักดิ์ต่อเจ้าอนุวงศ์ พระปลัดเมือง พระยาพรหมยกกระบัตร จึงนำชาวเมืองนครราชสีมาติดตามเจ้าอนุวงศ์ไปจนกระทั่งถึงทุ่งสัมฤทธิ์ (ตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย) พระปลัดเมืองและพระยาพรหมจึงนำกองกำลังชาวเมืองนครราชสีมาเข้าโจมตีฝ่ายลาว ในขณะที่คุณหญิงโมภริยาของพระปลัดเมืองฯนำทัพของผู้หญิงถืออาวุธเป็นกระบองและหลาวทำจากไม้เข้าต่อสู้กับฝ่ายลาว นำไปสู่วีรกรรมที่ทุ่งสัมฤทธิ์ นางสาวบุญเหลือบุตรีของหลวงเจริญกรมการเมืองผู้น้อยฯวิ่งนำคบเพลิงไปจุดชนวนเกวียนบรรทุกกระสุนดินดำทำให้เกิดระเบิดอย่างรุนแรง นางสาวบุญเหลือสละชีพเสียชีวิตไปพร้อมกับเพี้ยรามพิชัยขุนพลฝ่ายลาว เหตุการณ์วีรกรรมที่ทุ่งสัมฤทธิ์ทำให้เจ้าอนุวงศ์ต้องถอยทัพกลับไปโดยให้เจ้าโถงผู้เป็นหลานตั้งมั่นอยู่ที่เมืองพิมาย ต่อมาในพ.ศ. 2370 คุณหญิงโมจึงได้รับการปูนบำเหน็จแต่งตั้งให้เป็น “ท้าวสุรนารี” กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงยกทัพมาตั้งมั่นที่นครราชสีมา เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) เข้าเฝ้ากรมพระราชวังบวรฯ กรมพระราชวังบวรฯมีพระบัณฑูรให้เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) อยู่ฟื้นฟูเมืองนครราชสีมาให้กลับขึ้นมาดังเดิม พระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ต่อมาคือเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สามารถตีทัพของเจ้าโถงแตกพ่ายไปแล้วยึดเมืองพิมายคืนมาได้

เมื่อ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ถึงแก่กรรม พระพรหมบริรักษ์ (เกษ) บุตรชายคนโตของเจ้าพระยาบดินทรเดชาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เจ้าเมืองนครราชสีมาคนต่อมา

เมื่อว่างเว้นจากสงคราม เมืองโคราชได้ฟื้นตัวขึ้นใหม่กลายเป็นชุมทาง การค้าที่สำคัญ ในการติดต่อระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคกลาง มีกองเกวียน กองคาราวานการค้า ขนาดใหญ่ผ่าน และ หยุดพักอยู่เสมอ

ในสมัยรัชกาลที่ 4 บาทหลวงปาลเลกัวซ์ ได้เขียนว่า ตัวเมืองโคราชล้อมรอบด้วยกำแพงตั้งอยู่บนที่ราบสูง เดินทางจากบางกอกใช้เวลา 6 วันโดยไต่ระดับสูงขึ้นไปตามเส้นทาง ดงพญาไฟ ประชากรโคราชมีประมาณ 60,000 คน ครึ่งหนึ่งเป็นคนสยาม อีกครึ่งหนึ่งเป็นคนเขมร ในตัวเมืองมีประชากร 7,000 คน มีคนจีนประมาณ 700 คน มีเหมืองแร่ทองแดง มีโรงหีบอ้อย สินค้า คือ ข้าว งาช้าง หนังสัตว์ เขาสัตว์ ไม้เต็ง อบเชย

ในรัชกาลนี้ เจ้าพระยานครราชสีมา (เกษ) ได้เลื่อนเป็น เจ้าพระยามุขมนตรี (เกษ) และ เจ้าเมืองนครราชสีมาคนต่อมาคือ พระยานครราชสีมา (แก้ว) บุตรชายคนรองของเจ้าพระยาบดินทรเดชา หลังจากนั้น พระยานครราชสีมา (แก้ว) ได้เลื่อนเป็น เจ้าพระยายมราช (แก้ว) และ เจ้าเมืองคนต่อมาคือ พระยานครราชสีมา (เมฆ) บุตรชายคนโตของ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน)

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยานครราชสีมา (เมฆ) บุตรของ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ได้เป็นแม่ทัพบกไปปราบจีนฮ่อที่เมืองหนองคาย ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งมณฑลนครราชสีมาเพื่อควบคุมดูแลหัวเมืองในบริเวณใกล้เคียง เป็นมณฑลแรกของประเทศ มีพระยานครราชสีมา (กาจ สิงหเสนี) บุตรเขยของพระยานครราชสีมา (เมฆ) เป็นผู้ว่าราชการคนแรก มีการจัดตั้งกองทหารประจำมณฑลตามหลักสากล มีการตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่นครราชสีมา มีการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ผ่านอยุธยา สระบุรี ดงพญาไฟ ไปสู่นครราชสีมา จนเปิดการเดินรถไฟหลวง สายกรุงเทพ – นครราชสีมา ได้สำเร็จ การคมนาคมติดต่อสะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก ในช่วงเดียวกันฝรั่งเศสได้เข้ามามีอำนาจเหนือคาบสมุทรอินโดจีน ทำให้สยามจำต้องเร่งการปรับปรุงพัฒนาราชอาณาจักรโดยเฉพาะในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการจัดตั้งการขนส่งปรษณียภัณฑ์ทางอากาศ และ สายการบินระหว่าง กรุงเทพ – นครราชสีมา มีการขยายเส้นทางรถไฟสายอีสาน จนสามารถขยายเส้นทางการเดินรถไฟจาก นครราชสีมา ถึง ขอนแก่น และ นครราชสีมา ถึง อุบลราชธานี ได้สำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 7

ยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระองค์เจ้าบวรเดช ได้รวบรวมกองกำลังทหารจากมณฑลนครราชสีมาเป็นหลัก ร่วมกับ พันเอกพระยาศรีสิทธิ์สงคราม เพื่อทำการต่อสู้กับคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะผู้ก่อการได้ยกกองกำลังเข้ามาล้อมกรุงเทพฯ แต่เมื่อการต่อสู้ยืดเยื้อในที่สุดก็ต้องถอยทัพและประสบความพ่ายแพ้เนื่องจากมีกำลังที่น้อยกว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ พันโทหลวงพิบูลสงครามผู้บัญชาการกองกำลังผสมฝ่ายรัฐบาล มีอำนาจในการควบคุมกำลังทหารมากขึ้นส่งผลให้ได้อำนาจทางการเมืองและจัดตั้งรัฐบาลทหารได้ในเวลาต่อมา

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทหารในสังกัด มณฑลทหารบกที่ 3 นครราชสีมา ได้ทำการร่วมรบในกรณีพิพาทอินโดจีน กองทัพไทยสามารถยึดดินแดนกลับคืนมาบางส่วน เป็นการชั่วคราว หลังสงครามยุติสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือสร้างถนนมิตรภาพ จาก สระบุรี ถึง นครราชสีมา ซึ่งเป็นทางหลวงที่ได้มาตรฐานดีที่สุดของประเทศในขณะนั้น

ในช่วงสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกาได้ขอใช้นครราชสีมาเป็นฐานบัญชาการการรบ มีการสร้างฐานบินโคราช และต่อมาไทยได้เปลี่ยนให้เป็น กองบิน 1 ซึ่งเป็นฐานกำลังรบทางอากาศหลักของกองทัพอากาศไทยในปัจจุบัน โดยมีมีเครื่องบิน F-16 ประจำการอยู่สองฝูงบิน

ในปี พ.ศ. 2523 มีความพยายามรัฐประหารโดยกลุ่มทหารของ พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา แต่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่นครราชสีมา กองกำลังทหารจากกองทัพภาคที่ 2 นำโดยพลตรี อาทิตย์ กำลังเอกได้เป็นกองกำลังหลักในการปราบกบฏลงได้ในที่สุด หลังจากนั้น อดีตผู้บัญชาการกองทัพภาคที่ 2 หลายท่านได้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในเวลาต่อมา

เนื่องจากความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ปัจจุบัน นครราชสีมา จึงได้กลายเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองที่สำคัญรองจากกรุงเทพมหานคร เป็นประตูสู่อิสาน เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งเป็นที่ตั้งของกองฐานกำลังรบหลักของกองทัพบก และกองทัพอากาศในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2553 ได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากฝนช่วงปลายฤดูตกหนักในบริเวณต้นแม่น้ำมูล นับเป็นอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 50 ปี