รับซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยน นาฬิกาอินเตอร์แบรนด์ทุกแบรนด์ ทุกรุ่น มือหนึ่งและมือสอง
Rolex • Patek • AP • Omega • IWC • PANERAI • FRANK MULLER • RICHARD MILLE • TAG Heuer • Vacheron Constantin • Ulysse Nardin • Tudor Tissot Piaget • Girard-Perregaux • Corum Chopard • Cartier • Breitling Breguet • Baume et Mercier • ALange & Söhne และอินเตอร์แบรนด์ให้ราคาสูง
time2hand.com
เราเข้าใจคุณ! ด้วยประสบการ์ณในการให้มูลค่านาฬิกาที่เป็นธรรม
การเลือกของที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสมยังจะทำให้การครอบครองนาฬิกาเรือนนี้ของคุณเป็นที่ไม่ผิดหวังทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นหากคุณต้องการปรึกษาและสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับรุ่นนาฬิกาต่างๆ ของเรายินดีให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ
รับซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน นาฬิกาหลายแบรนด์เช่น
Rolex • Patek • AP • Omega • IWC • PANERAI • FRANK MULLER • RICHARD MILLE • TAG Heuer • Vacheron Constantin • Ulysse Nardin • Tudor Tissot Piaget • Girard-Perregaux • Corum Chopard • Cartier • Breitling Breguet • Baume et Mercier • ALange & Söhne และอินเตอร์แบรนด์ให้ราคาสูง
-
ปลอดภัยกว่า
-
ให้ราคาดีกว่า
-
ใส่ใจมากกว่าด้วยการให้คำปรึกษาอย่างเต็มใจ
-
สะดวกและรวดเร็วกว่า
เราเป็นมากกว่าแค่ร้านรับซื้อนาฬิกา เรายินดีให้คำแนะนำเรื่องราคาเบื้องต้นแบบไม่มีค่าใช้จ่าย เราให้ความรู้ และดูแลลูกค้าตลอดการขาย โดยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์สูง ซื่อสัตย์ โดยมีกระบวนการซื้อ-ขายที่มีมาตรฐาน
บริการรับซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน
Rolex • Patek • AP • Omega • IWC • PANERAI • FRANK MULLER • RICHARD MILLE • TAG Heuer • Vacheron Constantin • Ulysse Nardin • Tudor Tissot Piaget • Girard-Perregaux • Corum Chopard • Cartier • Breitling Breguet • Baume et Mercier • ALange & Söhne และอินเตอร์แบรนด์ให้ราคาสูง
จังหวัดขอนแก่น
คำขวัญ: พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก
ขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง คือ จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ โดยขอนแก่นเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่ม
จังหวัดขอนแก่นมีเทศบาลนครขอนแก่นเป็นศูนย์กลางของจังหวัด ซึ่งตั้งอยู่ในจุดที่ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก) ตัดผ่าน ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญอีกเส้นหนึ่งในการเดินทางจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางเข้าไปสู่ภาคเหนือตอนล่างที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และเดินทางเข้าสู่ประเทศลาวทางด้านทิศใต้ของลาว อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดเพชรบูรณ์
ที่มาของชื่อ
เหตุที่เมืองนี้มีนามว่า เมืองขอนแก่นนั้นได้มีตำนานแต่โบราณเล่าขานสืบต่อกันมาว่า ก่อนที่เพี้ยเมืองแพนจะอพยพไพร่พลมาตั้งบ้านตั้งเมืองขึ้นนั้น ปรากฏว่าบ้านขาม หรือตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพองปัจจุบัน ซึ่งเป็นเขตแขวงร่วมการปกครองกับบ้านชีโล้น มีตอมะขามขนาดใหญ่ที่ตายไปหลายปีแล้ว กลับมีใบงอกงามเกิดขึ้นใหม่อีก และหากผู้ใดไปกระทำมิดีมิร้ายหรือดูถูกดูหมิ่น ไม่ให้ความเคารพยำเกรง ก็จะมีอันเป็นไปในทันทีทันใด เป็นที่น่าประหลาดและมหัศจรรย์ยิ่งนัก
ดังนั้น บรรดาชาวบ้านชาวเมืองในแถบถิ่นนั้นจึงได้พร้อมใจกันก่อเจดีย์ครอบตอมะขามนั้นเอาไว้เสีย เพื่อให้เป็นที่สักการะของคนทั่วไป พร้อมกับได้บรรจุพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า 9 บทเข้าไว้ในเจดีย์ครอบตอมะขามนั้นด้วย ซึ่งเรียกว่า พระเจ้า 9 พระองค์ แต่เจดีย์ที่สร้างในครั้งแรกเป็นรูปปรางค์ หลังจากได้ทำการบูรณะใหม่เมื่อราว 50 ปีที่ผ่านมานี้ จึงได้เปลี่ยนเป็นรูปทรงเจดีย์ และมีนามว่า พระธาตุขามแก่น ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตวัดเจติยภูมิ บ้านขาม ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น พระเจดีย์ขามแก่นถือว่าเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวจังหวัดขอนแก่น ซึ่งจะมีงานพิธีบวงสรวง เคารพสักการะกันในวันเพ็ญเดือน 6 ทุกปี
ส่วนทางด้านทิศตะวันตกของเจดีย์พระธาตุขามแก่นนั้น มีซากโบราณที่ปรักหักพังปรากฏอยู่ โดยอยู่ห่างจากเจดีย์ราว 15 เส้น หรืออยู่คนละฟากทุ่งของบ้านขาม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริเวณแถบนี้น่าจะเป็นที่ตั้งของเมืองมาก่อน แต่ได้ร้างไปนาน ดังนั้น จึงได้ถือเอานิมิตนี้มาตั้งนามเมืองว่าขามแก่น แต่ต่อมาจึงเรียกเพี้ยนมาเป็นเมืองขอนแก่น จนกระทั่งทุกวันนี้
แต่จากการศึกษาเอกสารต่างๆ ของประมวล พิมพ์เสน ไม่เคยมีคำว่าเมืองขามแก่น มีเพียงชื่อเมืองขอรแก่น, ขรแก่น, ขรแกน, และขอนแก่น และพระธาตุขามแก่นเดิมชื่อพระธาตุบ้านขาม พ.ศ. 2498 - 2499 พระราชสารธรรมมุนี (กัณหา ปภสฺสโร) ได้ทำการบูรณะพระธาตุบ้านขาม เปลี่ยนยอดเดิมที่เป็นไม้เป็นฉัตรโลหะ และเปลี่ยนชื่อจากพระธาตุบ้านขามเป็นพระธาตุขามแก่น และวัดบ้านขามเป็นวัดเจติยภูมิ และมีการรณรงค์ให้ชื่อเมืองขอนแก่นเพี้ยนมาจากเมืองขามแก่น ดังนั้นชื่อเมืองขอนแก่นน่าจะเชื่อได้ว่าแต่แรกเริ่มชื่อเมืองขอนแก่นอยู่แล้ว ไม่ได้เพี้ยนมาจากขามแก่นแต่อย่างใด
ประวัติ
การก่อตั้ง
ประวัติเมืองขอนแก่นนั้น มีความเกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์สำคัญ นับตั้งแต่เกิดเหตุความวุ่นวาย ในราชอาณาจักรล้านช้าง และการสร้างบ้านแปงเมือง ในเขตตอนกลางภาคอีสาน โดยเดิม เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองสุวรรณภูมิ (เดิม เมืองท่งศรีภูมิ) ที่สถาปนาในปี พ.ศ. 2256 โดย เจ้าแก้วมงคล (พระบิดา ของ พระขัติยวงษา (ทนต์) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดท่านแรก) เป็น ผู้ครองเมืองพระองค์แรก ภายใต้การสถาปนาแต่งตั้ง ของ เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก และต่อมา เพียเมืองแพน ที่เป็นกรมการเมือง ของเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ในราวปี พ.ศ. 2331 ได้ขอแบ่งไพร่พล จำนวน 500 คน แยกออกมาตั้งเมือง โดยแรกเริ่มอยู่บริเวณ บึงบอน จากนั้น 9 ปี ต่อมา ในปี 2340 จึงได้รับการแต่งตั้งและสถาปนาเมืองเป็น เมืองขอนแก่น และ เพียเมืองแพน (ตำแหน่งของกรมการเมือง ในระบบอาญาสี่) เป็น "พระนครศรีบริรักษ์" แยกอาณาเขตตั้งแต่บ้านกู่ทอง หนองกองแก้ว (ปัจจุบัน คือ เมืองชนบท) จากเขตเมืองสุวรรณภูมิ (ปัจจุบัน คือ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) มานับแต่สมัยนั้น
โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้า นับจากสมัยที่ สมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช พระเจ้ามหาชีวิตแห่งพระนครจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2231 พระองค์มีพระราชโอรสที่ยังทรงพระเยาว์มากองค์หนึ่งพระนามว่า เจ้าองค์หล่อ พระชนม์ 3 พรรษา พระยาแสนสุรินทรลือชัยไกรเสนาบดีศรีสรราชสงคราม (ท้าวมละ) ตำแหน่งพระยาเมืองแสนหรืออัครมหาเสนาบดีฝ่ายขวา จึงถือโอกาสแย่งเอาราชสมบัติจากพระราชกุมารที่ยังทรงพระเยาว์ เพื่อความชอบธรรมในการครองอำนาจพระยาเมืองแสนจึงหมายจะบังคับเอาเจ้านางสุมังคลราชเทวีพระมเหสีของสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช พระมารดาของเจ้าองค์หล่อและขณะนั้นพระนางก็ทรงพระครรภ์อยู่ด้วย มาเป็นมเหสีของตนเพื่อความชอบธรรมในราชบัลลังก์แต่พระนางไม่ยอม พระนางจึงขอความช่วยเหลือไปยังเจ้าราชครูหลวง วัดโพนเสม็ด (ญาคูขี้หอม)
เจ้าราชครูหลวง วัดโพนเสม็ดจึงวางอุบายให้ให้ศิษย์นำเสด็จพระนางเสด็จหนีไปหลบซ้อนที่ภูฉะง้อหอคำ (อยู่ในแขวงบอลิคำไซ) และต่อมาพระนางได้ประสูติการพระราชโอรส เจ้าราชครูหลวงถวายพระนามว่า เจ้าหน่อกระษัตริย์ ส่วนเจ้าองค์หล่อนั้นขุนนางที่จงรักภัคดีพาหนีไปยังเมืองพานภูชน
พระยาเมืองแสน เห็นว่าเจ้าราชครูหลวงวัดโพนเสม็ดเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือวางอุบายให้เจ้านางสุมังคลราชเทวีหลบหนีเป็นแน่ อีกทั้งเจ้าราชครูหลวงยังเป็นที่เคารพของราชวงศ์ล้านช้าง มีลูกศิษย์ที่เป็นเชื้อพระวงศ์และเป็นขุนนางในราชสำนักเป็นจำนวนมาก รวมถึงราษฎรล้านช้างก็ให้ความเคารพเชื่อฟังนับถือมาก ต่อไปในภายหน้าเจ้าราชครูหลวงวัดโพนเสม็ดคงจะวางอุบายชิงเอาบ้านเมืองกลับไปถวายเชื้อพระวงศ์ล้านช้างองค์ใดองค์หนึ่งอย่างแน่นอน จึงวางอุบายจะกำจัดเจ้าราชครูหลวงวัดโพนเสม็ด
เจ้าราชครูหลวงเองก็รู้ตัวอยู่แล้วว่าพระยาเมืองแสนหาทางจะกำจัดตน เจ้าราชครูหลวงจึงวางอุบายหนีด้วยการไปบูรณพระธาตุพนม ให้เจ้าแก้วมงคลแล้วและลูกศิษย์รวบรวมกำลังคนนัดแนะกันหนีออกจากพระนครจันทบุรีไปยังนครพนม ให้เจ้าจันทรสุริยวงศ์ไปอารักขาเจ้านางสุมังคลาราชเทวีและเจ้าหน่อกษัตริย์มายังบ้านงิ้วพันลำสมสนุก
เจ้าราชครูหลวงได้บูรณพระธาตุพนมอยู่สามปีจึงเสร็จ แล้วก็พาคณะศิษย์เดินทางลงทิศใต้เพื่อที่จะหาสถานที่ตั้งบ้านเมือง ระหว่างทางมีชาวบ้านขอติดตามไปด้วยเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งได้เดินทางล้ำเข้าไปในดินแดนกรุงกัมพูชา พระเจ้ากรุงกัมพูชาจึงเรียกเก็บส่วย เจ้าราชครูจึงได้พาคณะเดินทางกลับขึ้นมาตามลำน้ำโขงจนถึงเมืองหนึ่งนามว่า นครกาละจำปากนาคบุรีศรี ซึ่งมีเจ้าผู้ครองนครเป็นผู้หญิงที่ทรงพระชราภาพมากแล้ว เจ้าราชครูหลวงจึงขอเข้าพักในเขตนครกาละจำปากนาคบุรีศรี
เจ้านางผู้ครองนครกาละจำปากนาคบุรีศรีซึ่งทรงชราภาพมากไม่สามารถบริหารบ้านเมืองได้และพระองค์ก็ทรงศรัทธาเจ้าราชครูหลวงเป็นอย่างมาก จึงทรงมอบพระราชอำนาจให้เจ้าราชครูหลวงเป็นผู้สำเร็จราชการทุกอย่างในพระนคร
พ.ศ. 2252 เจ้าราชครูหลวงจึงให้เจ้าแก้วมงคลนำกำลังขึ้นไปบ้านงิ้วพันลำสมสนุก เพื่อช่วย เจ้าจันทรสุริยวงศ์เชิญเสด็จเจ้าหน่อกระษัตริย์และพระมารดามายังนครกาละจำบากนาคบุรีศรี ต่อมาเกิดความวุ้นวายขึ้นในพระนครกาละจำปากนาคบุรีศรี แต่สามารถปราบได้อย่างรวดเร็ว
พ.ศ. 2256 เจ้าราชครูหลวง จึงจัดพระราชพิธีราชาภิเสกเจ้าหน่อกระษัตริย์ ขึ้นเป็นพระเจ้ามหาชีวิต ถวายพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ครองราชย์สมบัติเป็นเอกราช เปลี่ยนนามนครใหม่ ว่า นครจำปาสักนัคบุรีศรี (อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์) จัดการบ้านเมืองตามโบราณราชประเพณีล้านช้างทุกประการ
และมีพระราชโอการให้ เจ้าแก้วมงคล โอรสของเจ้าองค์ศรีวิชัย, พระนัดดาของเจ้ามหาอุปราชศรีวรมงคล, พระราชปนัดดาของสมเด็จพระเจ้าศรีวรวงษาธิราช (เจ้ามหาอุปราชศรีวรวงษา หรือสยามออกพระนามว่า พระมหาอุปราชวรวังโส) นำกำลังในสังกัดข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งเมืองขึ้นบนบริเวณที่ราบริมฝังแม่น้ำ (แม่น้ำเสียว) ซึ่งเป็นแหล่งเกลือและนาข้าวที่อุดมสมบูรณ์ ให้ชื่อว่า เมืองทุ่งศรีภูมิ มีพระราชโองการให้ เจ้าแก้วมงคล เป็นเจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิ (องค์ที่ 1) ให้เจ้ามืดดำโดนเป็นอุปราช มีการจัดการบริหารบ้านเมืองเช่นเดียวกับนครจำปาสักนัคบุรีศรี
พ.ศ. 2268 เจ้าแก้วมงคล สิ้นพระชนม์ เมื่อ 84 พรรษา มีโอรส 3 องค์ คือ เจ้าองค์หล่อหน่อคำ (เจ้าเมืองน่าน), เจ้ามือดำโดน, เจ้าสุทนต์มณี[8] สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจึงมีพระราชโอการให้ เจ้ามืดดำโดนอุปราช ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิ (องค์ที่ 2) ให้เจ้าสุทนต์มณีเป็นอุปฮาดเมืองทุ่งศรีภูมิ เจ้ามืดดำโดนได้ตั้งแต่งตำแหน่งเมืองแสน เมืองจันทร์ ท้าว เพีย เต็มอัตรากำลังเช่นเมืองหลวงทุกประการ
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรทรงพระประชวร จึงมีพระราชโอการให้เจ้ามหาอุปราชไชยกุมารเป็นผู้สำเร็จราชการ
พ.ศ. 2280 สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรเสด็จสวรรคต พระชนม์ได้ 50 พรรษา ครองราชย์สมบัติได้ 25 ปี เจ้ามหาอุปราชไชยกุมาร จึงขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าองค์หลวง และมีพระราชโองการให้เจ้าธรรมเทโวผู้เป็นพระราชอนุชาเป็นเจ้ามหาอุปราช พ.ศ. 2306 เจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิ (เจ้ามืดดำโดน) สิ้นพระชนม์ มีโอรส 3 องค์ คือ เจ้าเชียง เจ้าสูน เจ้าอุ่น(ปลัดเมืองขุขันธ์ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองศีร์ษะเกษท่านแรก นามว่า พระยารัตนวงศา อีกทั้งยังเป็นลูกเขยของพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนหรือตากะจะเจ้าเมืองขุขันธ์ท่านแรกและเป็นบิดาของพระประจันตประเทศหรือเจ้าเมืองชลบถวิบูลย์ท่านแรก)[9] [10]สมเด็จพระพุทธเจ้าองค์หลวง พระเจ้ามหาชีวิตจึงมีพระราชโองการให้เจ้าสุทนต์มณีอุปราชขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิ (องค์ที่ 3) เจ้าเชียงและเจ้าสูนโอรสเจ้ามืดดำโดนเจ้าผู้ครองเมืององค์ก่อนไม่พอใจ จึงสมคบกับขุนนางส่วนหนึ่งหนีไปพึ่งขุนหลวงเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2308 เจ้าเชียงและเจ้าสูนเมื่อไปถึงอยุธยาแล้วจึงของกองทัพเพื่อจะขึ้นมาตีเมืองทุ่งศรีภูมิ หากตีเมืองได้ เจ้าเชียงจะขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองและจะขอเป็นเมืองประเทศราชส่งเครื่องบรรณาการแก่อยุธยา แต่ระหว่างนั้นอยุธยากำลังถูกกองทัพพระเจ้ามังระแห่งย่างกุ้งรุกรานไม่สามารถส่งกองทัพขึ้นมาได้ ทางอยุธยาจึงสั่งรวบรวมกำลังหัวเมืองขึ้นของอยุธยาที่อยู่ใกล้เข้าตีเมืองทุ่งศรีภูมิจนแตก ประกอบกับช่วงนั้นทางนครจำปาสักนัคบุรีศรีเกิดความวุ่นวายสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตพระพุทธเจ้าองค์หลวงทรงอ่อนแอไม่สามารถส่งกองทัพมาช่วยได้ เจ้าสุทนต์มณีจึงทิ้งเมืองหนี เจ้าเชียงจึงขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมือง (องค์ที่ 4) และให้เจ้าสูนเป็นอุปราช เมืองทุ่งศรีภูมิจึงตกเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2310 กองทัพพระเจ้ามังระก็ตีกรุงศรีอยุธยาแตกเป็นเหตุให้อาณาจักรอยุธยาล่มสลาย แต่ไม่นานในปลายปีเดียวกันพระยาตากขุนนางของกรุงศรีอยุธยาก็รวบรวมกองทัพขับไล่กองกำลังของพระเจ้ามังระที่ประจำอยู่ในอยุธยาแตกหนีกลับไปได้ และพระยาตากก็สถาปนาราชวงศ์ใหม่และย้ายเมืองหลวงมายังกรุงธนบุรี
พ.ศ. 2319 พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ส่งกองทัพขึ้นมารวบรวมหัวเมืองที่เคยเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาให้กลับไปเป็นเมืองประเทศราชส่งบรรณาการให้กับกรุงธนบุรี กองทัพกรุงธนบุรีมาถึงเมืองทุ่งศรีภูมิเจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิ (เจ้าเซียง) จึงออกไปอ่อนน้อมขอส่งเครื่องบรรณาการให้กรุงธนบุรีเช่นเดียวกลับที่เคยส่งให้กรุงศรีอยุธยา เมื่องกองทัพกรุงธนบุรีเข้าเมืองแล้ว เจ้าผู้ครองเมืองทุ่งศรีภูมิ (เจ้าเซียง) เห็นว่าเมืองท่งศรีภูมินั้นตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำเสียวถึงฤดูฝนน้ำก็ท่วม จึงปรึกษากับแม่ทัพกรุงธนบุรีเพื่อขอพระราชโองการย้ายเมืองไปยังดงเท้าสาร ซึ่งห่างจากตัวเมืองเดิมประมาณ ๑๐๐ เส้น พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้ย้ายเมืองตามที่ขอ และพระราชทานนามเมืองใหม่ว่า เมืองสุวรรณภูมิประเทศราช
เจ้าเซียงมีบุตร 3 คน คือ ท้าวเพ (เจ้าเมืองหนองหานท่านแรก), ท้าวโอ๊ะ (เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ), ท้าวพร และธิดาไม่ทราบนามอีก 2 คน ในพื้นเมืองท่ง ระบุว่าท้าวพรซึ่งเป็นบุตรของท้าวเซียงมีบุตรชาย 2 คน คือ เพี้ยเมืองแพน (พระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่นท่านแรก) เพี้ยศรีปาก (พระเสนาสงคราม เจ้าเมืองพุทไธสงท่านแรก และเป็นบิดาของพระยานครภักดี เจ้าเมืองแปะหรือบุรีรัมย์ท่านแรก)
ประวัติศาสตร์ พื้นที่ส่วนนี้ยังเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ กระจัดกระจายกันตามพื้นที่ราบสูง ในปี พ.ศ. 2322 ขณะนั้นเมืองเวียงจันทน์ได้เกิดเหตุพิพาทกับกลุ่มของเจ้าพระวอจนถึงกับยกทัพไปตีค่ายของเจ้าพระวอแตกที่บ้านดอนมดแดง (อุบลราชธานีปัจจุบัน) และจับเจ้าพระวอประหารชีวิต สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถือว่าฝ่ายเจ้าพระวอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของไทยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพขึ้นไปตีเวียงจันทน์ จากนั้นจึงได้ยกทัพกลับมายังกรุงเทพมหานคร พร้อมกับได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระพุทธปฏิมากร และพระบางกลับมาถวายแต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วย
โดยในช่วงที่ พระรัตนวงษา (อ่อน) เป็นบุตร ของพระขัติยวงษาทนต์ และเป็นหลานของ เจ้าแก้วมงคล ได้ครองเมืองสุวรรณภูมิ แล้ว ได้ขอพระราชทาน แต่งตั้ง ท้าวโอ๊ะ (บุตร พระรัตนวงษาเซียง) ที่ดำรงตำแหน่ง ราชบุตร เดิมนั้น ขึ้นดำรงตำแหน่ง เป็น "อุปฮาด" ต่อมา ราว พ.ศ. 2331 เพี้ยเมืองแพน ซึ่ง เป็นหนึ่ง ในตำแหน่งกรมการเมืองสุวรรณภูมิ ได้ขอ พระรัตนวงษา (อ่อน) เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ พาราษฎรและไพร่พลประมาณ 330 คน ขอแยกตัวออกจากเมืองสุวรรณภูมิไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ฝั่งบึงบอน ยกขึ้นเป็นเมืองที่บ้านดอนพยอมเมืองเพี้ย (ปัจจุบันคือ บ้านเมืองเพีย ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้านไผ่) เพียเมืองแพน (ภายหลังได้รับการสถาปนา เป็น พระยานครศรีบริรักษ์) ได้ขออพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในบ้านชีโหล่น คุมไพร่พลคนละ 500 คน แยกออกมาจาก "เมืองท่ง" หรือ "เมืองสุวรรณภูมิ" และให้ขึ้นตรงต่อเมืองสุวรรณภูมิ ครั้นต่อมาอีกราว 9 ปี ในปี พ.ศ. 2340 เพี้ยเมืองแพนก็ได้พาราษฎรและไพร่พล ย้ายมาตั้งเมืองใหม่ ที่บริเวณ เมืองเก่า ริมบึงแก่นนคร ในปัจจุบัน และได้รับพระบรมราชานุญาต ตั้งเป็นเมือง ขอนแก่น และ สถาปนายศ เจ้าเมือง "เพียเมืองแพน" เป็น "พระนครศรีบริรักษ์" เจ้าเมืองขอนแก่น ท่านแรก ในปี พ.ศ. 2340 โดยในปีเดียวกันนั้น เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ พระรัตนวงษา (อ่อน) เป็นบุตร ของพระขัติยวงษาทนต์ ได้ครองเมืองสุวรรณภูมิ แล้ว ได้ขอพระราชทาน แต่งตั้ง ท้าวโอ๊ะ (บุตร พระรัตนวงษาเซียง) ที่ดำรงตำแหน่ง ราชบุตร เดิมนั้น ขึ้นดำรงตำแหน่ง เป็น "อุปฮาด" ต่อมา และ มีใบบอกไปยังกรุงเทพมหานคร ว่า เพียเมืองแพน ได้ขอแบ่งไพร่พล และตั้งเป็นเมืองขอนแก่น นับแต่นั้น โดยแบ่งพื้นที่ตั้งแต่ บ้านกู่ทอง หนองกองแก้ว ขึ้นเป็นเมืองขอนแก่น
บึงบอนหรือดอนพยอมในปัจจุบันได้ตื้นเขินเป็นที่นาไปหมดแล้ว แต่ก็ยังปรากฏเป็นรูปของบึงซึ่งมีต้นบอนขึ้นอยู่มากมาย ต่อมาก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองแพนเป็นพระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่น ดังปรากฏข้อความในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานของหม่อมอมรวงศ์วิจิตรว่า
เอกสารพงศาวดารอีสานฉบับพระยาขัติยวงศา (เหลา ณ ร้อยเอ็ด) ได้กล่าวถึงการตั้งเมืองขอนแก่นว่า “...ได้ทราบข่าวว่าเมืองแพน บ้านชีโล่น แขวงเมืองสุวรรณภูมิ พาราษฎร ไพร่พลประมาณ 330 คน แยกจากเมืองสุวรรณภูมิไปขอตั้งฝั่งบึงบอนเป็นเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองแพนเป็นพระนครศรีบริรักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่น...” ขอนแก่นจึงได้ที่มาว่าเป็นเมืองคู่กับมหาสารคามนั้นเอง
ส่วนเมืองบริวารอื่นๆ ที่มีส่วนกี่ยวข้องกับการแยกตัวออกมาจากเมืองสุวรรณภุมิ และภายหลังมีการแยกออกมาตั้งเป็น เมือง ในเขตจังหวัดขอนแก่น หลังปี พ.ศ. 2340 นั้น ได้แก่ เมืองมัญจาคีรีหรืออำเภอมัญจาคีรี ปรากฏอยู่ในทำเนียบมณฑลอุดร กล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองขึ้นชื่อเมืองมัญจาคีรี โดยมีจางวางเอกพระยาพฤติคุณธนเชษ (สน สนธิสัมพันธ์) เป็นเจ้าเมืองคนแรกเมื่อ พ.ศ. 2433-2439
ตัวเมืองขอนแก่นจากมุมสูง
การย้ายถิ่นฐาน
ในปี พ.ศ. 2439 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนการปกครองหัวเมืองไกลใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นบริเวณหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ให้เป็นหัวเมืองลาวพวน ดังนั้น เมืองขอนแก่นจึงอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองอุดรธานี หรือมณฑลอุดรธานี โดยมีกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมเป็นผู้ปกครองมณฑล ในสมัยนั้นได้มีสายโทรเลข ที่เดินจากเมืองนครราชสีมา ผ่านเมืองชนบท เข้าเขตเมืองขอนแก่นข้ามลำน้ำชีที่ท่าหมากทัน ตรงไปท่าพระ บ้านทุ่ม โดยไม่เข้าเมืองขอนแก่น และตรงไปข้ามลำน้ำพองไปบ้านหมากแข้งเมืองอุดรธานี ศูนย์กลางมณฑลอุดร กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (ผู้ปกครองมณฑลอุดรธานีในขณะนั้น) ซึ่งเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑลอุดรธานีทรงดำริว่า ที่ว่าการเมืองขอนแก่นที่ตั้งอยู่ที่บ้านดอนบม ไม่สะดวกแก่ราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองขอนแก่นไปตั้งอยู่ที่บ้านทุ่ม (อำเภอเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน) ในปลาย พ.ศ. 2439 และเปลี่ยนนามตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง และตั้งชื่อเมืองว่า "ขอนแก่น" จนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานบรรดาศักดิ์ท้าวหนูหล้าปลัดเมืองขอนแก่นเป็นพระพิทักษ์สารนิคม และในปี พ.ศ. 2441 ก็ได้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านทุ่มกลับไปตั้งอยู่ที่บ้านเมืองเก่าตามเดิม โดยตั้งศาลากลางขึ้นที่ริมบึงเมืองเก่าทางด้านเหนือ (หน้าสถานีโทรทัศน์ในปัจจุบัน) ด้วยเหตุผลที่ว่า บ้านทุ่มนั้นกันดารน้ำในฤดูแล้ง
ในปี พ.ศ. 2444 ทางราชการได้เกณฑ์แรงงานของราษฎรที่เคยหลงผิดไปเชื่อผีบุญ-ผีบาป ที่เขตแขวงเมืองอุบลราชธานีในตอนนั้น โดยให้พากันมาช่วยสร้างทำนบกั้นน้ำขึ้นเป็นถนนรอบบึงเมืองเก่า เพื่อกักน้ำไว้ใช้สอยในฤดูแล้ง เพราะบึงนี้เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของชาวเมืองขอนแก่น
ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 พระนครบริรักษ์ (อุ นครศรี) เจ้าเมืองขอนแก่น ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ เหตุเพราะชราภาพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งพระพิทักษ์สารนิคม (หนูหล้า สุนทรพิทักษ์) ปลัดเมืองขอนแก่นขึ้นเป็นเจ้าเมืองขอนแก่น และในปีนั้นเอง ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนามตำแหน่งข้าหลวงประจำเมืองขอนแก่นเป็นข้าหลวงประจำบริเวณพาชี ส่วนเมืองต่าง ๆ ที่ขึ้นต่อนั้น ก็ให้เปลี่ยนเป็นอำเภอ และผู้เป็นเจ้าเมืองนั้น ๆ ก็ให้เปลี่ยนเป็นนายอำเภอ ตำแหน่งอุปฮาดก็เป็นปลัดอำเภอไป แต่ขึ้นตรงต่อเมืองอุดรธานี มณฑลอุดรธานีในขณะนั้น
ต่อมาในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกเลิกระบบมณฑลในประเทศ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัดแทน ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองจึงกลายเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด และศาลาว่าการเมืองก็เปลี่ยนมาเป็นศาลากลางจังหวัด นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาขอนแก่นจึงได้กำเนิดเป็น "จังหวัดขอนแก่น"