รับซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยน นาฬิกา ROLEX PATEK และอินเตอร์แบรนด์โลตัสพระราม 1

Posted on Posted in 04-ซื้อ-ขายนาฬิกา-ห้างสรรพสินค้า, ซื้อ-ขายนาฬิกา-ห้างสรรพสินค้ากรุงเทพ

บริการรับซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนนาฬิกาหรู ของใหม่และมือสอง

Rolex | Patek | AP | Omega | IWC และอินเตอร์แบรนด์ให้ราคาสูง

time2hand.com


เราเข้าใจคุณ! ด้วยประสบการ์ณในการให้มูลค่านาฬิกาที่เป็นธรรม

การเลือกของที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสมยังจะทำให้การครอบครองนาฬิกาเรือนนี้ของคุณเป็นที่ไม่ผิดหวังทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นหากคุณต้องการปรึกษาและสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับรุ่นนาฬิกาต่างๆ ของเรายินดีให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ

รับซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน นาฬิกาหลายแบรนด์เช่น Rolex(โรเล็กซ์), Patek Phillipe

ต้องการซื้อ-ขายนาฬิกาติดต่อเราทันทีได้ที่

TEL : 06-1515-1616

LINE : @time2hand


เพิ่มเพื่อน

  • ปลอดภัยกว่า
  • ให้ราคาดีกว่า
  • ใส่ใจมากกว่าด้วยการให้คำปรึกษาอย่างเต็มใจ
  • สะดวกและรวดเร็วกว่า

เราเป็นมากกว่าแค่ร้านรับซื้อนาฬิกา เรายินดีให้คำแนะนำเรื่องราคาเบื้องต้นแบบไม่มีค่าใช้จ่าย เราให้ความรู้ และดูแลลูกค้าตลอดการขาย โดยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์สูง ซื่อสัตย์ โดยมีกระบวนการซื้อ-ขายที่มีมาตรฐาน

บริการรับซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน Rolex | Patek | AP | Omega | IWC และอินเตอร์แบรนด์ให้ราคาสูง

ต้องการซื้อ-ขายนาฬิกาติดต่อเราทันทีได้ที่

TEL : 06-1515-1616

LINE : @time2hand

เทสโก้ โลตัส

เทสโก้ โลตัส (Tesco Lotus) เป็นกลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เดิมใช้ชื่อว่า โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ (Lotus Supercenter) โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในนามของบริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่นซิสเทม จำกัด เปิดให้บริการสาขาแรกที่ซีคอนสแควร์ บนถนนศรีนครินทร์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ขายหุ้นส่วนใหญ่ให้กับกลุ่มเทสโก้เมื่อปี พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติจากสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นที่มาให้เกิดการควบรวมชื่อเป็น เทสโก้ โลตัส ในปัจจุบัน โดยในปัจจุบันได้มีการแบ่งรูปแบบตามขนาด และวิถีชีวิตของแต่ละท้องที่

เทสโก้ โลตัส เกิดจากความต้องการขยายรูปแบบร้านค้าปลีกของ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือกลุ่มซีพี เมื่อ พ.ศ. 2537 โดยได้ทดลองรูปแบบสาขาแรกที่ซีคอนสแควร์ แต่เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยจนกลายเป็นวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ทำให้ใน พ.ศ. 2541 กลุ่มซีพีตัดสินใจขายหุ้นส่วนใหญ่ของ โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ให้กับกลุ่มเทสโก้ จากประเทศอังกฤษ และได้เปลี่ยนแปลงชื่อมาเป็น เทสโก้ โลตัส ในปัจจุบัน

เมื่อ พ.ศ. 2557 กลุ่มเทสโก้ ถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการจาก Serious Fraud Office ฐานแสดงบัญชีไม่ตรงกับการดำเนินการจริงของบริษัทฯ ทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ของกลุ่มเทสโก้ลดลงจนขาดทุน 3.1 แสนล้านบาทในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังเกิดเรื่อง เมื่อเป็นเช่นนี้กลุ่มเทสโก้จึงตัดสินใจขายกิจการในหลายประเทศรวมถึงประเทศมาเลเซียและเทสโก้ โลตัสในประเทศไทย เพื่อนำเงินไปชำระหนี้สินและพยุงสถานะทางการเงินของกลุ่มบริษัท อย่างไรก็ตาม กลุ่มเทสโก้ กลับปฏิเสธการขายกิจการในไทยและมาเลเซีย เนื่องจากเป็นฐานรายได้หลักนอกประเทศอังกฤษของกลุ่มเทสโก้ และกลุ่มยังไม่มีความจำเป็นต้องขายออกไปเพื่อพยุงสถานะทางการเงิน

ต่อมา ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ให้ข่าวว่ากำลังปรึกษากับธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง เพื่อขอกู้เงินซื้อกิจการเทสโก้ โลตัสกลับคืนมา คาดว่าจะใช้เงินสูงถึง 2 แสนล้านบาทในการซื้อกิจการกลับมาทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม ธนินท์ ได้เปิดเผยภายหลังว่าตนได้เจรจาขอซื้อคืนหลายครั้งแล้ว แต่กลับถูกปฏิเสธเนื่องจากกลุ่มเทสโก้ไม่ยอมขาย ตนจึงเคารพการตัดสินใจของกลุ่มเทสโก้และหยุดแผนการซื้อกิจการทั้งหมดลง

ใน เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 สำนักข่าวเดอะการ์เดียน ได้เปิดเผยว่ากลุ่มเทสโก้ กำลังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจขายกิจการในประเทศไทยและมาเลเซีย หลังมีเอกชนในไทยเสนอซื้อกิจการ ซึ่งต่อมาสำนักข่าวบลูมเบิร์กได้เปิดเผยว่ากลุ่มที่สนใจเข้าซื้อกิจการมีทั้งหมดสามรายคือ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเคอร์ จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่มทีซีซี และบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งบลูมเบิร์กคาดว่ามูลค่าซื้อขายอาจสูงถึงหนึ่งหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณสามแสนล้านบาท และอาจกลายเป็นดีลใหญ่มากที่ส่งผลถึงตลาดค้าปลีกในประเทศไทย เนื่องมาจากปัจจุบันเทสโก้ โลตัสมีสาขากว่า 2,000 สาขา หลัก ๆ เป็นสาขาในรูปแบบเอ็กซ์เพรส และตลาดโลตัส หากหนึ่งในสามกลุ่มเป็นผู้ชนะการประมูลกิจการ จะทำให้กลุ่มนั้นพลิกขึ้นมาเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดค้าปลีกทันที ซึ่งต่อมา คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ได้ออกมาแถลงเป็นกรณีพิเศษว่า การประมูลกิจการเทสโก้ โลตัส ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการก่อน เนื่องจากจะส่อการผูกขาดทางการค้า และยังได้สั่งการให้ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สขค.) เฝ้าระวังดีลนี้เป็นพิเศษ และติดตามการรวมธุรกิจอย่างใกล้ชิด

ต่อมากลุ่มเทสโก้ได้เปิดรับข้อเสนอจากเอกชนทั้งสามราย คือ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด ผลปรากฏว่า บริษัท ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด อันเป็นกิจการร่วมค้าเฉพาะกิจที่ถือหุ้นโดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซี.พี. เมอร์แชนไดซิ่ง จำกัด เป็นผู้เสนอราคาประมูลสูงสุดที่ 338,445 ล้านบาท โดย ซี.พี. รีเทล ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563 แต่จะยังไม่สามารถเข้าซื้อกิจการทั้งหมดได้ เนื่องจากต้องขอความเห็นชอบจาก คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า สำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า และ Ministry of Domestic Trade and Consumers Affairs of Malaysia ให้เรียบร้อยก่อน คาดว่ากระบวนการซื้อขายจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี พ.ศ. 2563 หากแต่หนึ่งในสามมีมติไม่อนุมัติการควบรวมกิจการ กลุ่มเทสโก้ ก็จะขายกิจการให้ผู้เสนอราคาอันดับสอง คือ กลุ่มบิ๊กซี ต่อไป