รับซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยน นาฬิกา ROLEX PATEK และอินเตอร์แบรนด์ลพบุรี

Posted on Posted in ซื้อ-ขายนาฬิกา-ภาคกลาง, ซื้อ-ขายนาฬิกา77จังหวัด

บริการรับซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนนาฬิกาหรู ของใหม่และมือสอง

Rolex | Patek | AP | Omega | IWC และอินเตอร์แบรนด์ให้ราคาสูง

time2hand.com


เราเข้าใจคุณ! ด้วยประสบการ์ณในการให้มูลค่านาฬิกาที่เป็นธรรม

การเลือกของที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสมยังจะทำให้การครอบครองนาฬิกาเรือนนี้ของคุณเป็นที่ไม่ผิดหวังทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นหากคุณต้องการปรึกษาและสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับรุ่นนาฬิกาต่างๆ ของเรายินดีให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ

รับซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน นาฬิกาหลายแบรนด์เช่น Rolex(โรเล็กซ์), Patek Phillipe

ต้องการซื้อ-ขายนาฬิกาติดต่อเราทันทีได้ที่

TEL : 06-1515-1616

LINE : @time2hand


เพิ่มเพื่อน

  • ปลอดภัยกว่า
  • ให้ราคาดีกว่า
  • ใส่ใจมากกว่าด้วยการให้คำปรึกษาอย่างเต็มใจ
  • สะดวกและรวดเร็วกว่า

เราเป็นมากกว่าแค่ร้านรับซื้อนาฬิกา เรายินดีให้คำแนะนำเรื่องราคาเบื้องต้นแบบไม่มีค่าใช้จ่าย เราให้ความรู้ และดูแลลูกค้าตลอดการขาย โดยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์สูง ซื่อสัตย์ โดยมีกระบวนการซื้อ-ขายที่มีมาตรฐาน

บริการรับซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน Rolex | Patek | AP | Omega | IWC และอินเตอร์แบรนด์ให้ราคาสูง

ต้องการซื้อ-ขายนาฬิกาติดต่อเราทันทีได้ที่

TEL : 06-1515-1616

LINE : @time2hand

ลพบุรี เป็นจังหวัดในภาคกลาง เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของประเทศ มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองกำลังทั้งทหารบกและทหารอากาศหลายหน่วย เป็นศูนย์กลางทางด้านการทหาร กองกำลังทางการรบ ซึ่งจังหวัดลพบุรีนั้นมีภูมิประเทศที่เหมาะสมคืออยู่ในเขตตอนกลางของประเทศจึงทำให้เป็นศูนย์กลางทางด้านการทหารซึ่งสามารถที่กระจายหรือแจกจ่ายกำลังพล อาวุธยุทธโทปกรณ์ไปยังภูมิภาคต่างๆได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้งสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และนอกจากนั้นได้มีการวางผังเมืองใหม่และตั้งหน่วยทหารขึ้นมาในเมืองลพบุรี ซึ่งมีหน่วนทหารที่สำคัญได้แก่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่, ศูนย์การบินทหารบก, หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ, ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร, หน่วยรบพิเศษ เป็นต้น ดังนั้นเมืองลพบุรีจึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองทหารเพราะมีหน่วยทหารที่สำคัญตั้งอยู่ถึง 11 หน่วย ลพบุรีในปัจจุบันจึงเป็น "เมืองเศรษฐกิจ เมืองท่องเที่ยว ศูนย์การศึกษาของภาคกลางตอนบน และยังเป็นเมืองทหารอีกด้วย" และนอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ พระปรางค์สามยอด เขาสนามแจง และทุ่งทานตะวันที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ (มีพื้นที่ถึง 200,000-300,000 ไร่)[ต้องการอ้างอิง] และได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่มีลิงอาศัยอยู่มาก[ต้องการอ้างอิง]และนับว่าเป็นจังหวัดที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เดินทางมาท่องเที่ยวที่จังหวัดลพบุรีเป็นจำนวนมาก

ประวัติศาสตร์

พื้นที่ของจังหวัดลพบุรี เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายสมัย เดิมเรียก ละโว้ นับตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ มีหลักฐานที่สำคัญคือ พระปรางค์สามยอด (อยู่ในเขตอำเภอเมืองลพบุรี) เป็นศิลปะเขมรสมัยบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 และมีศาลพระกาฬซึ่งเก่าแก่ในสมัยเดียวกัน

คำว่า "ละโว้" นี้น่าสัณนิษฐานได้ว่ามาจากคำว่า ลวะ นั่นเอง (ลวบุรี กลายมาเป็น ลพบุรี ในทุกวันนี้) ซึ่งคำว่า ลวะ ในภาษาสันสกฤตแปลว่า น้ำ (ซึ่งอาจหมายความถึงว่าเมืองนี้มีน้ำมาก) เมื่อนำเอามาสมาสกับคำว่า อุทัย (ลว + อุทัย) ก็กลายเป็นลโวทัย (ดังเช่น สุข + อุทัย กลายเป็น สุโขทัย) ซึ่งคำจารึก "ลโวทัยปุระ" ยังพบปรากฏบนเหรียญเงินโบราณที่ขุดค้นได้ที่บริเวณจังหวัดลพบุรีอีกด้วย[ต้องการอ้างอิง] แต่บ้างก็ว่าคำว่า ละโว้ มาจากภาษามอญซึ่งแปลว่าภูเขา คงเนื่องเพราะเมืองนี้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา

ลพบุรีเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เพราะปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ติดต่อกันนานนับแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ไม่น้อยกว่า 3,000-4,000 ปีมาแล้ว จากการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมาก รวมทั้งมีหลักฐานเอกสารและจารึกต่าง ๆ กล่าวถึงเมืองลพบุรีอยู่หลายชิ้นเช่นในพุทธศตวรรษที่ 11-15 มีหลักฐานคือพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงพระยากาฬวรรรณดิศได้ให้พราหมณ์ยกพลมาสร้างเมืองละโว้ตั้งแต่ พ.ศ. 1002 นอกจากนี้ยังมีตำนานชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวถึงการสร้างเมืองหริภุญไชยใน พ.ศ. 1204 ต่อมาอีก 2 ปี คือ พ.ศ. 1206 ได้ส่งทูตล่องลำน้ำปิงไปเมืองลวปุระทูลขอเชื้อสายกษัตริย์ลวปุระให้ไปปกครอง กษัตริย์ลวปุระจึงได้พระราชทานพระนางจามเทวี พระราชธิดา ให้ไปครองเมืองหริภุญไชย ทรงสร้างวัดจามเทวีที่เมืองหริภุญไชย ชื่อเมืองลวปุระในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์เป็นที่ยอมรับว่าคือเมืองลพบุรีในปัจจุบัน จึงสรุปได้ว่าลพบุรีคงเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง แว่นแคว้นอื่นจึงได้ยอมรับและขอเชื้อสายไปปกครอง

ในระยะราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 ละโว้หรือลพบุรีตกอยู่ภายใต้อำนาจทางการของอาณาจักรเขมรเป็นครั้งคราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เกิดความอ่อนแอในอาณาจักรเขมรทำให้รัฐต่าง ๆ ที่เคยอยู่ใต้อำนาจปลีกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งละโว้ด้วย ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ปรากฏหลักฐานว่าเมืองลพบุรี น่าจะเป็นเมืองที่พระเจ้าอู่ทองเคยครองราชย์มาก่อนที่จะย้ายไปสถาปนาอาณาจักรอยุธยา และในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้เองที่ลพบุรีเจริญรุ่งเรืองที่สุด เพราะสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) ได้สถาปนาลพบุรีเป็นราชธานีที่สอง หลังแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้วลพบุรีขาดความสำคัญลงมากจนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดสถาปนาเมืองลพบุรีเป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่ง จึงเห็นได้ว่าเมืองลพบุรีมีความสำคัญติดต่อกันมายาวนานนับพันปี

ตำนานเมือง

ลพบุรี เป็นเมืองเก่ามาตั้งแต่สมัยละโว้ ได้มีตำนานที่กล่าวถึงไว้อยู่มาก และมีชื่อสถานที่ที่ตั้งตามตำนานด้วย

เมืองลิง เล่ากันว่า จากเรื่อง รามเกียรติ์ สมัยที่พระรามไปรบกับทศกัณฐ์จนชนะแล้ว เนื่องจากการช่วยเหลือหลายครั้งของหนุมาน พระรามจึงคิดจะให้รางวัลกับหนุมาน จึงให้มาดูแลเมืองละโว้ธานี หนุมานก็นำทหารลิงมาด้วยจำนวนหนึ่ง จึงเป็นเหตุให้ที่ลพบุรีมีลิง ซึ่งอาจจะเป็นลูกหลานทหารของหนุมาน และนอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่ากันอีกว่า ในสมัยก่อนลพบุรีมักถูกไฟไหม้ต่อกันเป็นแนวยาวๆ เนื่องจากหนุมานได้เหาะมาตรวจเมืองของตนเอง แต่ด้วยความเร็วในการบินที่เร็วมาก และหางอันยาวของหนุมานก็ได้ลากที่พื้นจนเกิดไฟไหม้ดังกล่าว
เรื่องของควายทรพี และทรพา ที่ลพบุรีจะมีภูเขาที่ชื่อว่าเขาทับควาย ซึ่งจะมีแร่เหล็กจำนวนมาก และแร่เหล็กนี้จะทำให้ดินเป็นสีออกแดงคล้ายกับเลือด จึงมีเรื่องเล่ากันมาว่า เมื่อก่อนมีฝูงควายฝูงใหญ่ที่อาศัยอยู่ หัวหน้าฝูงชื่อ ทรพา เป็นควายที่แข็งแรงมาก และควายในฝูงก็จะเป็นตัวเมียเท่านั้น ทรพาจะฆ่าลูกที่เป็นตัวผู้ทิ้งหมด เพื่อกันไม่ให้มาแย่งตำแหน่งหัวหน้าของตน จนมีแม่ควายตัวหนึ่งตกลูก เป็นตัวผู้ แต่กลัวว่าจะถูกฆ่าจึงนำลูกไปซ่อนไว้ และตั้งชื่อลูกว่า ทรพี ให้คล้ายกับชื่อพ่อ ลูกควายรู้ว่าทำไมแม่ต้องซ่อนตนไว้ จึงเกิดความแค้นพ่ออย่างมาก และพยายามวัดเท้าตนกับรอยเท้าของพ่อตลอดมา จนทรพีโตเป็นหนุ่ม พอได้วัดรอยเท้าแล้วเท่ากับพ่อ จึงออกไปท้าสู้กับพ่อ และด้วยความที่ยังหนุ่มกว่า เรี่ยวแรงมากกว่า จึงเอาชนะพ่อที่แก่ชราได้ และฆ่าพ่อตาย ต่อมาทรพีจึงเป็นหัวหน้าฝูงแทน

วงเวียนเทพสตรีหรือวงเวียนพระนารายณ์มหาราช ลพบุรี เป็นบริเวณที่เรียกว่าเมืองใหม่เป็นย่านธุรกิจ การค้า ศูนย์ราชการต่างๆ ย่านห้างสรรพสินค้า ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเมืองลพบุรี

วงเวียนศรีสุริโยทัยหรือที่ชาวลพบุรีนิยมเรียกกันจนติดปากว่า(วงเวียนสระแก้ว) ซึ่งเป็นวงเวียนขนาดใหญ่สถาปัตยกรรมชิ้นนี้ถูกสร้างขึ้นใน ปีพุทธศักราช 2481 ในสมัยที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ย่านธุรกิจการค้า การท่องเที่ยว โบราณสถานแหล่งเมืองเก่าทางด้านทิศตะวันตกของเมืองลพบุรี
เขาวงพระจันทร์ ดูจาก เขาวงพระจันทร์
ขันหมากเจ้ากรุงจีน มีพ่อค้าจีนชื่อ กงจีน หรือ เจ้ากรุงจีน เดินทางมาค้าขายโดยเรือสำเภา พ่อค้าคนนี้ร่ำรวยเป็นเศรษฐี และได้มาพบสาวงามชื่อนางนงประจันทร์ เกิดรักใคร่ขึ้น จึงมาสู่ขอกับพ่อของนาง ตอนที่ขบวนเรือขันหมากแล่นมาใกล้เมืองลพบุรี (ต่อมาสถานที่นั้นกลายเป็นคลองชื่อ คลองบางขันหมาก) เมื่อชายหนุ่มที่เป็นคนรักของนางนงประจันทร์ทราบเรื่อง ก็แปลงกายเป็นจรเข้ตัวใหญ่มากไปขวางขบวนเรือ และทำลายเรือขันหมาก ลูกเรือก็กระโดดน้ำหนี (บริเวณตรงนั้นปัจจุบันกลายเป็นภูเขาเตี้ยๆชื่อเขาจีนโจน) มีลูกเรือบางส่วนขึ้นฝั่งได้ก็พากันมามองหาเรือและตามเก็บของที่ลอยน้ำมา (บริเวณนี้กลายเป็นภูเขาชื่อเขาจีนแล) ส่วนเรือสำเภาที่ล่มกลายเป็นภูเขาชื่อเขาตะเภา ข้าวของที่พ่อค้านำมาเป็นสินสอดมีผ้าแพรที่พับไว้อย่างดีซึ่งจมน้ำ ต่อมากลายเป็นภูเขามีลักษณะเป็นชั้นๆชื่อเขาพับผ้า หรือเขาหนีบ ส่วนแก้วแหวนเงินทองงมาจมลงที่เดียวกันกลายเป็นภูเขาชื่อเขาแก้ว มีตะกร้าที่นำมาด้วยจมอยู่กลายเป็นภูเขาชื่อเขาตะกร้า และมีพวกขนมที่นำมารวมกองกันอยู่กลายเป็นภูเขาที่มีลักษณะคล้ายขนมเข่งขึ้นรา ชื่อเขาขนมบูด ส่วนนางนงประจันทร์ระหว่างรอขบวนขันหมากและเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดตกใจตกลงไปในน้ำ นางจึงจมน้ำตายและกลายเป็นภูเขาชื่อเขานงประจันทร์ หรือเขานางพระจันทร์ (ต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็นเขาวงพระจันทร์ (เรื่องนี้เป็นคนละตำนานกับตำนานเขาวงพระจันทร์ข้างบนนะ)) สำหรับจรเข้หนุ่มเมื่อล่มเรือขันหมากแล้วเห็นคนรักตกน้ำพยายามจะว่ายไปช่วยแต่หมดแรงก่อนจึงจมน้ำตายกลายเป็นภูเขาชื่อเขาตะเข้ หรือเขาจรเข้

จังหวัดลพบุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ, 121 ตำบล, 1,122 หมู่บ้าน 

อำเภอเมืองลพบุรี
อำเภอพัฒนานิคม
อำเภอโคกสำโรง
อำเภอชัยบาดาล
อำเภอท่าวุ้ง
อำเภอบ้านหมี่
อำเภอท่าหลวง
อำเภอสระโบสถ์
อำเภอโคกเจริญ
อำเภอลำสนธิ
อำเภอหนองม่วง