รับซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยน นาฬิกา ROLEX PATEK และอินเตอร์แบรนด์อุตรดิตถ์

Posted on Posted in ซื้อ-ขายนาฬิกา-ภาคเหนือ, ซื้อ-ขายนาฬิกา77จังหวัด

บริการรับซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนนาฬิกาหรู ของใหม่และมือสอง

Rolex | Patek | AP | Omega | IWC และอินเตอร์แบรนด์ให้ราคาสูง

time2hand.com


เราเข้าใจคุณ! ด้วยประสบการ์ณในการให้มูลค่านาฬิกาที่เป็นธรรม

การเลือกของที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสมยังจะทำให้การครอบครองนาฬิกาเรือนนี้ของคุณเป็นที่ไม่ผิดหวังทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นหากคุณต้องการปรึกษาและสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับรุ่นนาฬิกาต่างๆ ของเรายินดีให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ

รับซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน นาฬิกาหลายแบรนด์เช่น Rolex(โรเล็กซ์), Patek Phillipe

ต้องการซื้อ-ขายนาฬิกาติดต่อเราทันทีได้ที่

TEL : 06-1515-1616

LINE : @time2hand


เพิ่มเพื่อน

  • ปลอดภัยกว่า
  • ให้ราคาดีกว่า
  • ใส่ใจมากกว่าด้วยการให้คำปรึกษาอย่างเต็มใจ
  • สะดวกและรวดเร็วกว่า

เราเป็นมากกว่าแค่ร้านรับซื้อนาฬิกา เรายินดีให้คำแนะนำเรื่องราคาเบื้องต้นแบบไม่มีค่าใช้จ่าย เราให้ความรู้ และดูแลลูกค้าตลอดการขาย โดยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์สูง ซื่อสัตย์ โดยมีกระบวนการซื้อ-ขายที่มีมาตรฐาน

บริการรับซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน Rolex | Patek | AP | Omega | IWC และอินเตอร์แบรนด์ให้ราคาสูง

ต้องการซื้อ-ขายนาฬิกาติดต่อเราทันทีได้ที่

TEL : 06-1515-1616

LINE : @time2hand

อุตรดิตถ์ เดิมสะกดว่า อุตรดิฐ เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดจังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนล่าง โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุดประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท[8] โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาดส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้วสถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัย แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น

ประวัติศาสตร์สมัยก่อนประวัติศาสตร์
พื้นที่ตั้งตัวเมืองอุตรดิตถ์ในอดีต เป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ราบลุ่มอันเกิดจากดินตะกอนแม่น้ำพัดของแม่น้ำน่านที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานและประกอบกสิกรรมมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ปรากฏหลักฐานบริเวณรอบที่ตั้งตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันที่แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวและการตั้งถิ่นฐานของแหล่งชุมชนมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี ดังการค้นพบเครื่องมือหินขัดและซากกระดูกมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านบุ่งวังงิ้วซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามตำบลบางโพ-ท่าอิฐ และการค้นพบกลองมโหระทึกสำริด, กาน้ำและภาชนะสำริดที่ม่อนศัลยพงษ์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตตำบลบางโพในปี พ.ศ. 24701[10]สมัยประวัติศาสตร์
พื้นที่ตั้งตัวเมืองอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน ในทำเลที่ตั้งอันเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่มีความเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังนั้นในบริเวณแถบนี้จึงมีการเคลื่อนไหวและย้ายถิ่นฐานของผู้คนมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีท่าน้ำที่สำคัญ 3 ท่า คือ ท่าเซา ท่าอิด และท่าโพธิ์ ซึ่งมีความสำคัญและเจริญรุ่งเรืองมาแต่สมัยขอมปกครองท่าอิด ตั้งแต่ พ.ศ. 1400[11]เมืองท่าการค้าขายสำคัญ
ที่ตั้งของตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันมีที่มาจาก 3 ท่าน้ำสำคัญที่มีความสำคัญเป็นชุมทางค้าขายมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรขอม คือท่าอิด คือ บริเวณท่าอิฐบนและท่าอิฐล่างปัจจุบัน
ท่าโพธิ์ คือ บริเวณวัดท่าถนน ตลาดบางโพ เนื่องจากมีต้นโพธิ์มาก มีคลองไหลผ่าน เรียกว่า คลองบางโพธิ์ (เพี้ยนมาเป็นบางโพ)
ท่าเสา คือ บริเวณตลาดท่าเสา
วิบูลย์ บูรณารมย์ ผู้แต่งหนังสือตำนานเมืองอุตรดิษฐ์ ได้อธิบายว่าความหมายของชื่อ "ท่าอิด" และ "ท่าเสา" ไว้ว่า คำว่า "อิด" หรือ "อิฐ" ในชื่อท่าอิดเพี้ยนมาจากคำว่า "อิ๊ด" ในภาษาล้านนา แปลว่า "เหนื่อย" ส่วนคำว่า "เสา" ในชื่อท่าเสามาจากคำว่า "เซา" ในภาษาล้านนา แปลว่า "พักผ่อน" ทั้งสองคำนี้มีที่มาจากการเดินทางมาค้าขายที่ท่าอิดทางเรือ และทางบกของจังหวัดภาคเหนือ และภาคกลางสมัยโบราณ กว่าจะถึงก็เหนื่อยและต้องพักผ่อน[11]สำหรับความหมายของท่าอิฐและท่าเสาในอีกความเห็นหนึ่งนั้น พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษประจำกรมศิลปากร กล่าวไว้ในหนังสือของท่านคัดค้านการสันนิษฐานความหมายตามภาษาคำเมืองดังกล่าว โดยกล่าวว่า คำว่าท่าอิฐและท่าเสานั้นเป็นคำในภาษาไทยกลาง เพราะคนท่าอิฐและท่าเสาเป็นกลุ่มชนสุโขทัยดั้งเดิมที่ใช้กลุ่มภาษาไทยกลุ่มเมืองในแคว้นสุโขทัย เช่นเดียวกับชาวสุโขทัย นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก กำแพงเพชร และเช่นเดียวกับกลุ่มคนในตำบลทุ่งยั้ง บ้านพระฝาง เมืองพิชัย บ้านแก่ง และบ้านคุ้งตะเภา ซึ่งเป็นกลุ่มคนแคว้นสุโขทัยเดิมในจังหวัดอุตรดิตถ์เช่นเดียวกัน โดยคำว่าท่าเสานั้น มีความหมายโดยตรงเกี่ยวข้องกับการล่องซุงหมอนไม้ในสมัยโบราณเช่นเดียวกับชื่อนามหมู่บ้านหมอนไม้ (หมอนไม้ซุง) ซึ่งอยู่ทางใต้ของบ้านท่าอิฐอย่างไรก็ดี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แสดงให้เห็นว่าทั้งท่าอิฐและท่าเสานับเป็นท่าที่มีความเจริญทางการค้ามากกว่าทุกท่าในภาคเหนือ เป็นทั้งท่าจอดเรือ ค้าขายจากมณฑลภาคเหนือและภาคกลางรวมถึงเชียงตุง เชียงแสน หัวพันทั้งห้าทั้งหก สิบสองปันนา สิบสองจุไทย จนต่อมาแควน่านได้เปลี่ยนทางเดิน ทำให้หาดท่าอิดงอกออกไปทางตะวันออกมากทุก ๆ ปี ท่าอิดจึงเลื่อนตามลงไปเรื่อย ๆ เรียกว่าหาดท่าอิดล่าง ท่าอิดเดิมเรียกว่าท่าอิดบน ท่าอิดล่างก็ยังคงเป็นศูนย์การค้าสำคัญของภาคเหนือมาตลอดจนถึงสมัยรัชกาลที่ 6[11]ปลายกรุงศรีอยุธยา-ต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ในช่วงสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมืองฝาง ซึ่งอยู่เหนือน้ำเมืองอุตรดิตถ์ได้กลายเป็นแหล่งชุมนุมสำคัญของประชาชน เพราะไม่ได้รับผลกระทบจากการสงครามระหว่างไทย-พม่า ทำให้เกิดชุมนุมเจ้าพระฝางเป็นใหญ่เหนือหัวเมืองแถบนี้ ก่อนจะถูกปราบปรามลงได้ในภายหลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เคยใช้เมืองท่าอิดเป็นที่พักทักเมื่อกรีธาทัพผ่านมา [13] และใช้เป็นที่รวบรวมทัพก่อนขึ้นตีหัวเมืองฝ่ายเหนือและล้านนา สมัยก่อนนั้น การเดินทางและการขนส่งสินค้าเพื่อนำมาขายทางตอนเหนือมีสะดวกอยู่ทางเดียวคือ ทางน้ำ แม่น้ำที่สามารถให้เรือสินค้ารวมทั้งเรือสำเภาขึ้นลงได้สะดวกถึงภาคเหนือตอนล่างก็มีแม่น้ำน่านเท่านั้น เรือสินค้าที่มาจากกรุงเทพฯ หรือกรุงศรีอยุธยาก็จะขึ้นมาได้ถึงบางโพท่าอิฐเท่านั้น เพราะเหนือขึ้นไปแม่น้ำจะตื้นเขินและมีเกาะแก่งมาก ฉะนั้นตำบลบางโพท่าอิฐจึงเป็นย่านการค้าที่สำคัญ [11]
กำเนิดนามเมืองอุตรดิตถ์
โดยในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อุตรดิตถ์เป็นหัวเมืองชุมนุมการค้าที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในภาคเหนือ ทำให้ในปี พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงเล็งเห็นความสำคัญของเมืองแห่งนี้ในฐานะศูนย์กลางการค้าขายของแถบภาคเหนือตอนล่าง หรือเมืองท่าที่ตั้งอยู่ปลายเหนือสุดของการควบคุมด้วยอำนาจโดยตรงของ อาณาจักร จึงพระราชทานนามเมืองท่าอิดไว้ว่า "อุตรดิฐ"(อุตร-ทิศเหนือ, ดิตถ์-ท่าน้ำ) แปลว่า "ท่าน้ำแห่งทิศเหนือ" (คำนี้ต่อมาเขียนเป็น "อุตตรดิตถ์ " และ "อุตรดิตถ์" ดังที่ใช้ในปัจจุบัน)
พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองพิชัย ท่าอิด เมืองทุ่งยั้ง และเมืองลับแล ทรงเล็งเห็นว่าท่าอิดมีความเจริญ เป็นศูนย์ทางการค้า ประกอบกับมีเมืองลับแลอยู่ใกล้ ๆ เป็นเมืองรองลงไป การชำระคดีและการเรียกเก็บภาษีอากรสะดวกกว่าที่เมืองพิชัย แต่ท่าอิดในขณะนั้นยังคงมีฐานะเป็นเมืองท่าขึ้นต่อเมืองพิชัย ดังนั้น คดีต่าง ๆ ที่เกิดขั้นรวมทั้งการเก็บภาษีอากรส่วนใหญ่จึงอยู่ที่ท่าอิด ราษฎรต้องลงไปเมืองพิชัยติดต่อกับส่วนราชการเป็นการไม่สะดวก จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองพิชัยมาตั้งที่บริเวณท่าอิด ส่วนเมืองพิชัยเดิมว่าเรียกว่าเมืองพิชัยเก่าที่พักทัพปราบกบฏเงี้ยว
พ.ศ. 2446 พวกเงี้ยวก่อการจลาจลที่เมืองแพร่ โดยมีประกาหม่องหัวหน้าเงี้ยวตั้งตนเป็นใหญ่[18][19][20] จับพระยาสุรราชฤทธานนท์ข้าหลวงประจำมณฑลกับข้าราชการไทย 38 คนฆ่าแล้วยกทัพลงมาจะยึดท่าอิด กองทัพเมืองอุตรดิตถ์โดยการนำของพระยาศรีสุริยราชวรานุวัติ เป็นผู้บัญชาทัพ พระยาพิศาลคีรี (ทัพ) ข้าราชการเกษียณอายุแล้วเป็นผู้คุมกองเสบียงส่ง โดยยกทัพไปตั้งรับพวกเงี้ยวที่ปางอ้อ ปางต้นผึ้ง พระยาศรีสุริยราชฯ จึงมอบหมายพระยาพิศาลคีรี เป็นผู้บัญชาการทัพแทน ทั้งนี้เนื่องจากเป็นผู้มีอาวุโสและกรำศึกปราบฮ่อที่หลวงพระบางมามาก พระยาพิศาลคีรีได้สร้างเกียรติคุณให้กองทัพไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยการปราบทัพพวกเงี้ยวราบคาบ ฝ่ายไทยเสียชาวบ้านที่อาสารบเพียงคนเดียว กอปรกับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีซึ่งเป็นแม่ทัพจากกรุงเทพฯ ยกมาช่วยเหลือยุคทางรถไฟถึงเมืองอุตรดิตถ์
พ.ศ. 2448-2451 ทางรถไฟได้เริ่มสร้างทางผ่านท่าโพธิ์และท่าเซา ซึ่งขณะนั้นบริเวณนี้ยังเป็นป่าไผ่อยู่ ไม่เจริญเหมือนท่าอิด กรมรถไฟจึงได้สร้างทางรถไฟแยกไปที่หาดท่าอิดล่าง ในปี พ.ศ. 2450 สมัยพระยาสุจริตรักษา (เชื้อ) เป็นเจ้าเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 กรมรถไฟได้สร้างสถานีรถไฟถึงบางโพธิ์และท่าเซา ทำให้ท่าโพธิ์และท่าเซาเจริญทางการค้าขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับที่ท่าอิดน้ำท่วมบ่อย การคมนาคมทางน้ำเริ่มลดความสำคัญลง การค้าที่ท่าอิดเริ่มซบเซา พ่อค้าเริ่มอพยพมาตั่งที่ท่าโพธิ์และท่าเซาเพิ่มมากขึ้น ท่าอิดเมืองท่าที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ พ.ศ. 1400 ก็เสื่อมความนิยมลง และได้ย้ายศูนย์กลางการค้ามาที่ตลาดท่าโพธิ์และตลาดท่าเสาในเวลาต่อมาต่อมาหลังจากการตัดเส้นทางรถไฟผ่านเมืองอุตรดิตถ์สำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทำให้แหล่งชุมนุมการค้าย่านท่าเสาและท่าอิฐเริ่มหมดความสำคัญลง เพราะรถไฟสามารถวิ่งขึ้นเมืองเหนือได้โดยไม่ต้องหยุดขนถ่ายเสบียงที่เมืองอุตรดิตถ์ และประกอบกับการที่ทางราชการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ปิดกั้นแม่น้ำน่านในเขตอำเภอท่าปลาในปี พ.ศ. 2510 ทำให้การคมนาคมทางน้ำยุติลงสิ้นเชิง โดยในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 นั้น เส้นทางคมนาคมทางถนนในจังหวัดอุตรดิตถ์มีเพียงไม่กี่เส้นทาง และด้วยทำเลที่ตั้งและความไม่สะดวกในการคมนาคมทางถนนในช่วงนั้นดังกล่าว ทำให้ตัวเมืองอุตรดิตถ์ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภาคเหนือกลายเป็นเมืองในมุมปิด ไม่เหมือนเมื่อครั้งการคมนาคมทางน้ำรุ่งเรือง และด้วยภูมิประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยดังกล่าว จึงทำให้ในช่วงต่อมารัฐบาลได้หันมาพัฒนาเมืองพิษณุโลกให้เป็นศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างแทนอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน
จนในปี พ.ศ. 2522 ทางการได้ตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ทำให้เมืองอุตรดิตถ์เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนามากขึ้นตามลำดับ เพราะทางเส้นนี้เป็นเส้นทางส่วนหนึ่งของถนนสายเอเชียที่ตัดผ่านมาจากจังหวัดพิษณุโลกผ่านนอกเมืองอุตรดิตถ์เข้าสู่จังหวัดแพร่ ทำให้เส้นทางนี้กลายเป็นเส้นทางคมนาคมทางบกสายหลักของจังหวัดอุตรดิตถ์ และกลายเป็นทางผ่านสำคัญเพื่อเข้าสู่ภาคเหนือตัวเมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้นมาโดยลำดับเนื่องจากเป็นที่ตั้งของย่านสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ทำให้ในปี พ.ศ. 2458 สมัยรัชกาลที่ 6 ได้ย้ายศูนย์ราชการจากเมืองพิชัยมาตั้งไว้ที่เมืองอุตรดิตถ์ และในปีพ.ศ. 2495 เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะจากเมืองอุตรดิตถ์ขึ้นเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ สืบจนปัจจุบันการปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 67 ตำบล 562 หมู่บ้านอำเภอเมืองอุตรดิตถ์
อำเภอตรอน
อำเภอท่าปลา
อำเภอน้ำปาด
อำเภอฟากท่า
อำเภอบ้านโคก
อำเภอพิชัย
อำเภอลับแล
อำเภอทองแสนขัน