รับซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยน นาฬิกาอินเตอร์แบรนด์ทุกแบรนด์ ทุกรุ่น มือหนึ่งและมือสอง
Rolex • Patek • AP • Omega • IWC • PANERAI • FRANK MULLER • RICHARD MILLE • TAG Heuer • Vacheron Constantin • Ulysse Nardin • Tudor Tissot Piaget • Girard-Perregaux • Corum Chopard • Cartier • Breitling Breguet • Baume et Mercier • ALange & Söhne และอินเตอร์แบรนด์ให้ราคาสูง
time2hand.com
เราเข้าใจคุณ! ด้วยประสบการ์ณในการให้มูลค่านาฬิกาที่เป็นธรรม
การเลือกของที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสมยังจะทำให้การครอบครองนาฬิกาเรือนนี้ของคุณเป็นที่ไม่ผิดหวังทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดังนั้นหากคุณต้องการปรึกษาและสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับรุ่นนาฬิกาต่างๆ ของเรายินดีให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ
รับซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน นาฬิกาหลายแบรนด์เช่น
Rolex • Patek • AP • Omega • IWC • PANERAI • FRANK MULLER • RICHARD MILLE • TAG Heuer • Vacheron Constantin • Ulysse Nardin • Tudor Tissot Piaget • Girard-Perregaux • Corum Chopard • Cartier • Breitling Breguet • Baume et Mercier • ALange & Söhne และอินเตอร์แบรนด์ให้ราคาสูง
-
ปลอดภัยกว่า
-
ให้ราคาดีกว่า
-
ใส่ใจมากกว่าด้วยการให้คำปรึกษาอย่างเต็มใจ
-
สะดวกและรวดเร็วกว่า
เราเป็นมากกว่าแค่ร้านรับซื้อนาฬิกา เรายินดีให้คำแนะนำเรื่องราคาเบื้องต้นแบบไม่มีค่าใช้จ่าย เราให้ความรู้ และดูแลลูกค้าตลอดการขาย โดยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์สูง ซื่อสัตย์ โดยมีกระบวนการซื้อ-ขายที่มีมาตรฐาน
บริการรับซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน
Rolex • Patek • AP • Omega • IWC • PANERAI • FRANK MULLER • RICHARD MILLE • TAG Heuer • Vacheron Constantin • Ulysse Nardin • Tudor Tissot Piaget • Girard-Perregaux • Corum Chopard • Cartier • Breitling Breguet • Baume et Mercier • ALange & Söhne และอินเตอร์แบรนด์ให้ราคาสูง
จังหวัดตราด
ตราด เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 2,819 ตารางกิโลเมตร ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกในช่วงปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมาตามแม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตราด ติดต่อกับจังหวัดจันทบุรีและประเทศกัมพูชา
ที่มาของชื่อตราด
ในเอกสารประวัติศาสตร์สะกดแตกต่างกัน 3 แบบ คือ "ตราษ" "ตราด" และ "กราด" คำว่า "ตราษ" เป็นคำที่เก่าที่สุดเท่าที่ตรวจสอบได้จากเอกสารประวัติศาสตร์ ปรากฏในจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จ.ศ. 1206 (พ.ศ. 2387) หนังสือไปเมืองตราษว่าด้วย เกลือไม่ส่งไปเมืองพนมเปน และจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จ.ศ. 1207 (พ.ศ. 2388) ใบบอกเรื่อง สืบราชการลับเมืองเขมร
ในสมัยรัชกาลที่ 4 พบคำว่า "ตราษ" และ "ตราด" ดังปรากฏในราชกิจจานุเบกษาตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2401–2401 ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 พบว่าเมืองตราดสะกดว่า "ตราด" ส่วนคำว่า "กราด" พบในหนังสือ ทำเนียบหัวเมือง ตอนที่ 1–3 ร.ศ. 119 คำว่า"ตราด" นี้อาจจะมีชื่อเรียกเพี้ยนมาจาก "กราด" อันเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งสำหรับใช้ทำไม้กวาด ซึ่งในสมัยก่อน ต้นไม้ชนิดนี้มักจะมีมากทั่วเมืองตราด ส่วนคำว่า "ตราษ" เป็นภาษาเขมร หมายถึง ไม้ยาง ซึ่งเป็นไม้พื้นเมือง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- คำขวัญประจำจังหวัด : เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา
- ตราประจำจังหวัด : รูปเรือใบแล่นในทะเลกับโป๊ะของชาวประมง เบื้องหลังเป็นเกาะช้าง หมายถึง จังหวัดตราดมีเกาะเป็นจำนวนมาก และเกาะที่ใหญ่ที่สุดเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปคือเกาะช้าง การที่มีพื้นที่ติดกับทะเล ราษฎรจึงยึดถือการประมงเป็นอาชีพหลักมาแต่โบราณ (เดิมจังหวัดตราดใช้ตราประจำจังหวัดเป็นรูปเรือรบหลวงตราด)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : หูกวาง (Terminalia catappa)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกกฤษณาชนิด (Aquilaria subintegra)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลากะรังจุดฟ้าจุดเล็กหรือปลาย่ำสวาท (Plectropomus leopardus)
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดด่อกับอำเภอสำลูต จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา และอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอมณฑลเสมา จังหวัดเกาะกง และจังหวัดโพธิสัตว์ ประเทศกัมพูชา
- ทิศใต้ ติดต่อกับชายฝั่งทะเลทางอ่าวไทย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
ประวัติศาสตร์
ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า เมืองตราดมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร แต่เท่าที่ค้นพบใน สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ปีพ.ศ. 1991–2031) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงเป็นบ้านเมืองครั้งใหญ่ขึ้น โดยจัดแบ่งการบริหารราชการแผ่นดิน ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่วนกลางประกอบไปด้วย ฝ่ายทหาร และ พลเรือน ส่วนภูมิภาคแบ่งเมืองต่าง ๆ ออกเป็น หัวเมืองเอก หัวเมืองโทหัวเมืองตรี และหัวเมืองจัตวางตามลำดับ อย่างไรก็ตามในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก็ไม่ปรากฏชื่อของเมืองตราด แต่อย่างใดเพียงแต่บอกว่า "หัวเมืองชายทะเลหรือ บรรดาหัวเมืองชายทะเล" เท่านั้น ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ปรากฏว่า บรรดาหัวเมืองชายทะเลแถบตะวันออกนั้นเรียกแต่เพียงว่า "บ้านบางพระ" ในตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา ได้ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารว่าบรรดาเสนาบดีจัตุสดมภ์ทั้งหลาย ได้พากันแบ่งหัวเมืองต่าง ๆ ให้ไปขึ้นกับสมุหนายก สมุหพระกลาโหมและโกษาธิบดี ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ ทางทะเล
เมืองตราดเป็นเมืองสำคัญซึ่งขึ้นอยู่กับฝ่ายการคลังของประเทศมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าปราสาททองแล้ว จนกระทั่งก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้าตากสินได้รวบรวมกำลังทหาร จำนวนหนึ่ง ตีฝ่าวงล้อม ของพม่าหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา เดินทางไปรวมตัวกัน ทางทิศตะวันออก โดยยกทัพไปถึงเมืองตราดซึ่งปรากฏในพงศาวดารว่า" ...หลังจากพระเจ้าตากสิน ตีเมือง จันทบุรีได้แล้ว เมื่อวันอาทิตย์เดือน 7 ปีกุน พ.ศ. 2310 ก็ได้เกลี้ยกล่อม ผู้คนให้กลับ คืน มายังภูมิลำเนาเดิม... "ครั้นเห็นว่าเมืองจันทบุรีเรียบร้อยอย่างเดิมแล้ว จึงยกกองทัพเรือ ไปยังเมืองตราด พวกกรมการและราษฎรก็พากันเกรงกลัวยอมอ่อนน้อม โดยดี ทั่วทั้งเมือง และขณะนั้นมีสำเภาจีน มาทอดอยู่ที่ปากน้ำเมืองตราดหลายลำ พระเจ้าตากให้ไปเรียกนาย เรือมาเฝ้าพวกจีนขัดขืน แล้วกลับยิงเอาข้าหลวง พระเจ้าตากทรงทราบก็ลงเรือที่นั่งคุม เรือรบลงไปล้อมสำเภาไว้แล้ว บอกให้ พวกจีนอ่อนน้อมโดยดีพวกจีนก็หาฟังไม่กลับเอาปืน ใหญ่น้อยระดมยิงรบกันอยู่ครึ่งวัน พระเจ้าตากก็ตีได้เรือสำเภาจีนทั้งหมด ได้ทรัพย์สิ่งของ เป็นกำลังการทัพเป็นอันมาก พระเจ้าตาก จัดการเมืองตราดเรียบร้อยแล้ว ก็กลับขึ้นมาตั้ง อยู่ ณ เมืองจันทบุรี"